วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ติวเตอร์มือใหม่กับการเริ่มสอนพิเศษ

ที่มาของบทความ: รุ่งโรจน์ ธัญญมนูกูล
เหมาะสำหรับ: ผู้ที่มีวิญญาณแห่งความเป็นครูสถิตย์อยู่ในร่าง
หมายเหตุ: ใครที่ต้องการก๊อปปี้ไปแปะที่อื่น ขอบอกว่า "ยินดี" แต่ช่วยให้เครดิตด้วยนะครับ
บทความนี้มีแรงบันดาลใจมาจากน้องคนหนึ่ง ที่เป็นติวเตอร์ที่สอน อยู่ในสถาบันของที่นี่ เป็น ติวเตอร์ที่มีความสามารถสูง โดยติวเตอร์ท่านนี้ได้มีโอกาสในการสอนเด็กๆกลุ่มหนึ่ง ที่หัวไม่ค่อยดีเท่าใดนัก ภายหลังจากการสอน ผลของการตอบรับจากเด็กๆพวกนี้ “ไม่ดีเท่าที่ควร” ติวเตอร์ผู้นั้นรู้สึกผิดหวังกับ การตอบรับจากเด็กๆกลุ่มนั้น พร้อมกับเปรยๆขึ้นมาว่า “ถ้าไม่สอนอย่างนี้ แล้วมันจะสอบผ่านเหรอ” ผมได้แต่ยิ้ม ด้วยเหตุที่ว่า ผมได้เห็นตัวเองในสมัย สิบกว่าปีก่อน สมัยที่เริ่มต้นสอนพิเศษ ใหม่ๆ ส่วนเหตุผลที่ทำไมคำตอบรับเป็นเช่นนั้น เหตุผลนั้น ผมรู้อยู่ในใจ แต่ไม่ได้บอกออกไป ไม่ใช่ว่าไม่มีความสามารถ ไม่ใช่ว่าพูดไม่รู้เรื่อง ไม่ใช่ว่าจะใจร้อน เป็นเพราะอะไร?? อันที่จริงบทความนี้ ผมอยากจะเขียนมานานแล้ว โดยจุดเริ่มต้นที่แท้จริง เกิดมาเมื่อแปดปีก่อน ที่ผมยังได้แต่สอนพิเศษ แบบกระโตงกระเตง คือ ไปนั่งสอนพิเศษ ตามห้างสรรพสินค้า ไปสอนตามศูนย์อาหาร หรือแม้แต่ไปสอนในแมคโดนัลด์ ที่บางทีสอนๆอยู่ก็มีพนักงาน เดินมาบอกว่า “พี่ๆที่นี่เค้าห้ามสอนพิเศษนะครับ”มีอยู่วันหนึ่ง เวลา 11 โมง ผมได้ไปสอนคณิตศาสตร์ ที่ดังกิ้นโดนัทตามปกติ ผมได้เห็นเด็กรุ่นน้องวิศวะจุฬา ที่นั่งโต๊ะติดกับผมคนหนึ่ง มาสอนนักเรียน ในเรื่องเวคเตอร์ น้องคนนี้พูดจาฉะฉาน ตั้งใจสอน พูดด้วยหลักการภาษาทางคณิตศาสตร์ ไม่เพี้ยนแม้แต่น้อย ผมได้แต่นั่งยิ้ม เพราะผมได้เห็นตัวเองในสมัยก่อนอีกแล้ว ภายในใจ ก็มีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า เมื่อผมมาที่นี่เวลานี้ ในทุกๆอาทิตย์ ผมอาจจะไม่ได้เจอเค้าอีก และแล้ว มันก็เป็นจริงอย่างที่ผมคิดจริงๆ ทำไมเค้าหายไปไหนล่ะ บทความนี้จะมีคำตอบ....

อาจารย์สอนเคมีที่โรงเรียนวัดสุทธิ ท่านหนึ่งเคยบอกกับผมไว้ว่า “การสอนหนังสือ ต้องประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ ศาสตร์ และ ศิลป์” สำหรับคำว่า ศาสตร์ แปรตามตัวก็คือ องค์ความรู้ แต่ศิลป์ล่ะ คืออะไร?? ผมกำลังจะบอกว่า “มันคือวิธีการถ่ายทอดความรู้” สั้นๆ แต่ลึกซึ้งมาก มันเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากกว่าศาสตร์เสียอีก อาจารย์สอนหนังสือส่วนใหญ่มักจะมองข้ามตรงจุดนี้ไป และมักจะมองว่าไม่สำคัญ แต่ผมขอย้ำว่า มันสำคัญที่สุด และเป็นหัวใจสำคัญของบทความนี้ครับ

สอนแบบกั๊ก ดีกว่า สอนแบบไม่กั๊ก
ใช่ครับคุณไม่ได้ตาฝาด ย้ำอีกครั้งก็ได้ว่า “สอนแบบกั๊ก ดีกว่า สอนแบบไม่กั๊ก” ตัวผมเคยสอนเด็กอยู่สองคน คนหนึ่งเป็นเด็กนักเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนท์ อีกคนเป็นเด็กนักเรียนโรงเรียนทวีธาภิเศก เด็กสองคนนี้เป็นเด็กที่เรียนเก่งทั้งคู่ เด็กทวีธาภิเศกเป็นเด็กที่อยู่ห้องคิงและเป็นอันดับหนึ่งของระดับชั้นมาโดยตลอด สำหรับเด็กเซนต์โยเซฟ เป็นเด็กที่อยู่อันดับต้นๆของระดับ ที่ได้เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด การสอนของทั้งสองคนนี้ผมสอน “แตกต่างกัน” คนแรกผมสอนเทคนิคที่ผมมีอยู่ในหัวทั้งหมดให้กับเค้า ส่วนคนสองผม “เลือก” ที่สอนเทคนิดบางอย่างให้กับเค้า หลังจากประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย วิชาคณิตศาสตร์ เด็กคนแรกได้ 65 คะแนน เด็กคนที่สองได้ 92 คะแนน เกิดอะไรขึ้น?? จากข้อสรุปง่ายๆอย่างหนึ่งที่ผมต้องการจะบอกคือ ในบางครั้งการสอนทั้งหมด แทนที่จะเป็นผลดีกับเด็ก แต่เป็นผลเสียมากกว่า เพราะ เมื่อถึงเวลาจริง เด็กคนนั้นจะเอาไปใช้ไม่ได้เลย และจะสับสนมากกว่าที่จะสามารถทำข้อสอบได้อย่างรวดเร็ว ก็คงไม่ต่างจาก โดเรม่อน ที่เวลาคับขัน ก็มักจะควักของวิเศษมากมายมากองไว้ตรงหน้า แล้วก็ใช้ไม่ได้ซักกะอัน
อย่างไรก็ตาม การสอนแบบกั๊ก จะต้อง “สอนครบ” หมายความว่า หัวข้อจะต้องไม่กระโดด มีความต่อเนื่อง และค่อยๆสอนเทคนิคที่ “เหมาะสม” กับเด็กแต่ละคนไป บางคนอาจจะไม่สอนเทคนิค อะไรเลย บางคนอาจจะสอนแค่บางอย่าง จะตราหน้าผมว่าเป็น “ไอ้กั๊ก” ก็ได้ ผมไม่ว่าครับ แต่จากประสบการณ์สอนพิเศษ กว่าสิบปีของผม บอกว่า “เด็กแต่ละคน ย่อมรับกับของบางอย่างเท่านั้น ที่เหมาะกับเค้า” ติวเตอร์บางคนเห็นว่า เด็กหัวไม่ดี จะต้องเอาแบบฝึกหัดยากๆ เยอะๆ เทคนิคเพียบ มาให้ทำ บอกได้เลยครับว่า ถ้าสอนแบบนั้น เด็กจะไม่ได้อะไรกลับบ้านไปเลย ผมรู้สึกเห็นใจติวเตอร์บางท่าน ที่ตั้งใจสอน เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี หวังว่าจะให้ลูกศิษย์ได้ความรู้อย่างเต็มที่ และเมื่อเริ่มการสอนพิเศษ ในครั้งแรกๆโดยการ สอนๆๆๆๆๆๆ และสอนๆๆๆๆ แต่ท้ายสุดกลับ เจ็บใจกับคำพูดที่ตอบกลับมาว่า “อาจารย์พูดอะไรไม่รู้เรื่องเลย”
วัฒนธรรมอย่างหนึ่งของ อาจารย์คนไทย (มักจะพบได้กับอาจารย์จบใหม่ ไฟแรง)  คือ “สอนทุกอย่าง ในสิ่งที่ตนเองรู้ทั้งหมด ให้กับลูกศิษย์” ซึ่งผมมองว่า มันไม่ดีเลย สำหรับผู้ที่ได้อ่านบทความนี้ของผม (ต้องขอขอบคุณ กูเกิ้ล) ช่วยๆกันเปลี่ยนใหม่ดีกว่าไหมครับ “สอนทุกอย่างให้กับลูกศิษย์ ในแบบที่เค้าควรจะรู้”

สอนถูกใจนำ สอนถูกต้องตาม
หลายท่านอาจจะดูงงๆ เปลี่ยนเป็นคำพูดใหม่ “นอกเรื่องนำ วิชาการตาม” หัวข้อนี้เป็นวิธีการสอนที่เหมาะอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กแสบๆที่ไม่ตั้งใจเรียน หรือเด็กเล็กที่มีสมาธิสั้น มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมได้มีโอกาสสอน พิเศษเด็กคนหนึ่งที่จัดว่า แสบ มาก ไม่มีติวเตอร์สอนพิเศษคนไหนเอาอยู่ เปลี่ยนติวเตอร์มาแล้วทั้งสิ้น 5 คนในหนึ่งปี ในการสอนครั้งแรกของผม ผมเริ่มด้วยการคุยทั้งสองชั่วโมง คุยในเรื่องที่เค้าชอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกมส์ เรื่องหนัง เรื่องเพลง เรื่องฟุตบอล ทุกๆเรื่องที่จะขุด เสาะแสวงหามาคุย คุยอยู่สองชั่วโมง จนไม่ได้สอนอะไรเลย แล้วก็เมื่อถึงเวลา ก็แยกย้ายกลับบ้านไป (ผมคิดเงินด้วยนะ ค่าจ้างที่ผมมานั่งคุยน่ะ) ผมอยากจะถาม ผู้อ่านทุกท่าน ผมสอนดีไหม?? ส่วนใหญ่น่าจะเป็นการมองว่า เสียเวลาเด็ก เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าสอนดีหรือเปล่า รู้แต่เพียงว่า ผมสอนพิเศษเค้ามาสามปี จนเข้ามหาวิทยาลัยได้ ไม่เคยเปลี่ยนติวเตอร์ แล้วก็โดดน้อยมาก ว่างๆก็จะแวะมาหาผม ชวนไปกินข้าว ตกลงผมสอนดีหรือเปล่าล่ะ?? เด็กที่ไม่ตั้งใจเรียน เด็กแสบ เด็กเฮี้ยวทั้งหลาย จะมีสิ่งหนึ่งที่มากกว่าเด็กทั่วไปคือ “กำแพงกั้นระหว่างครู กับลูกศิษย์” กำแพงนี้เป็นกำแพง ที่เราไม่สามารถลดได้ แต่เราสามารถทำให้เค้า ลดลงมาด้วยตัวเค้าเอง การสอนที่จะทำให้เค้าลดกำแพงลงคือ “ทำให้เค้ารู้สึกว่า เราเป็นครูที่น่าเคารพ” ไม่ใช่ “อาจารย์ที่ต้องเคารพ” และเมื่อใดก็ตามที่เค้าลดกำแพงลง เค้าจะพร้อมที่จะเปิดใจ รับฟังคำพูดทางวิชาการที่เราจะใส่ลงไปให้เค้า สำหรับการสอนในครั้งที่สอง ผมนอกเรื่องอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นผมก็เริ่มสอน “วิชาการแบบง่าย” ซึ่งในการสอนพิเศษ เด็กคนนี้ในครั้งต่อๆไป ผมจะคุยนอกเรื่องลดลง วิชาการมากขึ้น จนผ่านไปได้ระยะหนึ่ง ผมเริ่มด้วยวิชาการไปเลย และเพิ่มความยากขึ้นตามลำดับ การสอนก็ประสบความสำเร็จ ไปด้วยดี
อย่างไรก็ตามการสอนพิเศษด้วยวิธีนี้ มักจะใช้ไม่ได้ผลเลยกับเด็กที่ตั้งใจจะมาเรียนอย่างเดียว ดังนั้น บางครั้ง อาจจะใช้ วิชาการนำ นอกเรื่องตาม ก็เป็นไปได้นะครับ ปรับเปลี่ยนไปตามอุปนิสัยของเด็ก แต่สิ่งที่อยากจะเตือนไว้ คือ “อย่าให้เด็กนอกเรื่องทุกครั้ง และเนิ่นนานเกินไป” เพราะจะทำให้เด็กไม่ได้อะไร เสียเวลา และเสียเงิน ในตรงจุดนี้ตัวติวเตอร์ ต้องคอยดึงเด็กให้กลับมาด้วย อย่าปล่อยให้เลยตามเลย
วิชาเกินนำ วิชาการตาม
ก่อนที่จะลงรายละเอียดในหัวข้อนี้ ลองมาดูคำพูดบางอย่าง 2 แบบ ดังต่อไปนี้ก่อนนะครับ
แบบที่ 1 “นิยามของสามเหลี่ยมมุมฉาก คือสามเหลี่ยมที่มีมุมหนึ่งเป็นมุมฉาก และมีด้านสามด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านตรงข้ามมุมฉาก และด้านอีกสองด้าน เป็นด้านประกอบมุมฉาก ”
แบบที่ 2 “คุณสมบัติของสามเหลี่ยมมุมฉาก คือมันจะมีมุมนึงเป็นมุมฉาก มีด้านเอียงๆเป็นด้านที่ยาวที่สุด และมีอีกสองด้าน ที่แปะอยู่ที่มุมฉาก”
แบบที่ 1 “รู้ไหม  cat เป็น noun”
แบบที่ 2 “รู้ไหม  cat เป็น คำนาม”
แบบที่ 1 “มุมแหลมคือมุม ที่กางมากกว่า ศูนย์องศา แต่น้อยกว่า เก้าสิบองศา”
แบบที่ 2 “มุมแหลม มันก็เหมือนปลายดินสอที่มันแหลมๆนั่นแหละ”

จะเห็นได้ว่า ในแบบที่สอง การอธิบายอาจจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เป็นคำอธิบายที่ง่ายแต่ความเข้าใจ นี่คือความหมายของคำว่า “วิชาเกิน นำ วิชาการ” วิชาเกินคือคำพูดที่อาจจะผิดหลักอยู่บ้าง แต่ก็ฟังง่าย จำง่าย วิชาการคือ คำพูดที่ถูกต้องเป๊ะตามหลักของวิชาการ ถึงแม้ว่าจะถูกต้อง แต่ฟังยาก จำยาก และเด็กก็จะไม่อยากจำด้วย สิ่งหนึ่งที่ผมมักจะเห็นการสอน ของอาจารย์ที่สอนประจำโรงเรียน  อาจารย์ที่จบใหม่ๆ หรืออาจารย์ที่มีอีโก้ แรงๆ (ประมาณว่า ข้าเก่งที่สุดในแผ่นดินสยาม) มักจะอธิบายการสอน ด้วยแบบที่ 1 แทบทั้งสิ้น ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเป็นเพราะว่า เรียนมาแบบนี้ จึงสอนเด็กออกไปแบบนี้ อาจารย์บางท่าน เปิดเรื่องมาด้วยบทนิยามที่ซับซ้อน แล้วตอนจบล่ะ?? บอกได้เลยครับว่า ตัวอาจารย์จะไม่รู้สึกตัวเลย ว่าตัวเองสอนไม่รู้เรื่อง เพราะ พูดด้วยนิยามเป๊ะๆ นี่เป็นกับดักที่ น่ากลัวอย่างมากครับ เป็นกับดักของตัวอาจารย์เอง ทำมาดักตัวเอง ตัวผมเองเคยนั่งคุยกับลูกศิษย์ที่เรียน อยู่ที่โรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่ง เด็กบอกว่า อาจารย์สอนเลขที่โรงเรียนเขา สอนอะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้เรื่องเลย เด็กทั้งห้องนั่งงง ได้แต่จดๆๆๆ แล้วก็จด ไปโดยที่ ไม่รู้ว่า อาจารย์บ่นอะไร ผมเอาชีทของเด็กคนนั้นมาดู ผมเลยรู้เลยว่า อาจารย์ท่านนี้ ยังอยู่ในวังวนของ “วิชาการ” อยู่เลย สิ่งที่ผมถามเด็กคนนั้นต่อ ก็คือ อาจารย์คนนั้น อายุเท่าไหร่เหรอ? เด็กบอกว่า อายุประมาณ 50 กว่าๆ ผมก็นึกในใจว่า “คงแก้กันยากแล้วล่ะ” หากมีใครไปบอก อาจารย์แกคง ยืนยันด้วยคำเดิมว่า “ข้าสอนดีเฟ้ย” เฮ้อ..... รู้สึกเหนื่อยใจแทนเด็กนักเรียน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากจะเตือน ติวเตอร์ที่สอนโดยเอาวิชาเกินนำ เพียงอย่างเดียว คงไม่ดีเท่าไหร่ เพราะท้ายสุด เด็กจะละเลย ความถูกต้อง ดังนั้น เมื่อใช้วิชาเกินนำ ทำให้เด็กเข้าใจ อย่าลืมตบท้ายด้วยวิชาการ ด้วยนะครับ สำคัญนะครับ “วิชาเกิน นำ วิชาการ ตาม”
สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากไว้ โดยเฉพาะติวเตอร์ที่สอนคณิตศาสตร์ คือ การพิสูจน์สูตรต่างๆ ไม่จำเป็นเท่าไหร่หรอกครับ เพราะ เด็กไม่ได้เอาไปใช้ การสอนพิสูจน์ แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ท้ายสุดก็เป็นการสอนที่เสียเวลา และ ทำให้เด็กสับสน ง่ายๆลองนึกถึง การทำ “ข้าวผัด” ถ้าอาจารย์มาสอนว่า ข้าวแต่ละเม็ด ประกอบไปด้วยโมเลกุลอะไรบ้าง น้ำตาล น้ำปลา ทำมาจากอะไร มีวิธีการทำแบบไหน มันคงงงน่าดู เพราะเด็กไม่สนใจหรอก รู้แต่ว่า ถ้าเอาข้าวมาผัด รวมกับหมู ใส่น้ำตาล ใส่น้ำปลา เครื่องปรุง และผักต่างๆ ออกมา “ขอให้อร่อยและกินได้” ก็พอ ผมเคยเห็นติวเตอร์ท่านหนึ่ง นั่งพิสูจน์ทฤษฎีบท ทางตรีโกณมิติอยู่ 2 ชั่วโมง เสียเวลา ไม่มีประโยชน์กับเด็กเลย สิ่งที่ผมย้ำก็คือ การพิสูจน์ไม่จำเป็นสำหรับเด็กทั่วๆไปเลย แต่หากเด็กนักเรียนต้องการรู้ที่มา ค่อยเอามาถามนอกรอบดีกว่า
หัวใจ... สำคัญกว่าเส้นผม ภาพรวม... สำคัญกว่ารายละเอียด
ในสมัยก่อน เวลาผมสอนคณิตศาสตร์ ผมมักจะเริ่มบทใหม่ โดยใช้เวลาไม่นานนัก จากนั้น ก็รีบลงรายละเอียด ทันที ยกตัวอย่างเช่น ตอนผมสอนบท ภาคตัดกรวย ผมจะรีบลงรายละเอียด วงกลม พาราโบลา วงรี และ ไฮเปอร์โบล่า ผมใช้เวลานานพอสมควรในการ พูดถึงรายละเอียดปลีกย่อย ของกราฟแบบต่างๆ พอจบบท ผมย้อนถามเด็กๆว่า “กราฟมาจากอะไร......” นี่เป็นคำถามที่ง่ายที่สุด แต่เชื่อไหมว่า เด็กในห้อง ไม่มีใครตอบได้เลย.... ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ลองโยกไปในวิชาภาษาอังกฤษดูบ้าง เช่น ผมสอนโครงสร้างประโยค อย่างละเอียด สอนวลี แบบต่างๆ พอจบบท ผมถามเด็กกลับไปว่า “ประธาน คือ อะไร” แล้วเด็กตอบไม่ได้..... นี่คือหัวข้อที่ผมต้องการสื่อความหมายครับ
ติวเตอร์กว่าร้อยละ 90 มักจะสอนพิเศษ โดยมองข้าม “หัวใจสำคัญของแต่ละบท” ไม่ค่อยสนใจในภาพรวม ไม่สนใจว่า เรียนไปทำไม เพื่ออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร เมื่อสอนรายละเอียด ถึงแม้ว่าเด็กจะเข้าใจ แต่ผมต้องการบอกว่า “ถ้าไม่สอนภาพรวม เด็กจะไม่เข้าใจอยู่ดี” แล้วหากเน้นเจาะแต่รายละเอียดจะ มีข้อเสียอย่างไร?? ผมต้องการบอกว่า ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบัน รวมถึงข้อสอบแข่งขันในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบสมาคม ข้อสอบโอลิมปิค หรือข้อสอบชิงทุน ข้อสอบส่วนใหญ่ “เริ่มการแก้ปัญหาจากภาพรวม แล้วค่อยลงไปในรายละเอียด” หากเด็กไม่เข้าใจในภาพรวม เด็กจะทำข้อสอบได้น้อยกว่า ความสามารถของเขา จากจุดนี้ ในช่วง ห้าปีหลัง นี้มา ในระหว่าง ที่ผมสอนรายละเอียด ผมก็มักจะย้ำภาพรวม ไปในตัวด้วย อยู่เสมอๆ ด้วย การสอน แบบนี้ทำให้ เด็กนักเรียนของผม สอบได้คะแนนค่อนข้างดีทีเดียว สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะย้ำเพิ่มเติม คือ ผมเชื่อว่า “สูตรลัด มีประโยชน์ แต่ สูตรลัดที่มากไป จะกลายเป็นโทษมหันต์” ผมเห็นการสอนพิเศษที่สถาบันต่างๆ เช่นที่ สถาบัน J และ สถาบัน G (ไม่ขอเอ่ยนามนะครับ คิดกันเอง) สอนพิเศษแต่สูตรลัดๆๆๆๆๆๆ บางครั้ง คิดโจทย์ขึ้นมาเอง แล้วก็ใช้สูตรลัดของตัวเอง แล้วก็บอกว่ามันดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ท้ายสุดเด็กได้แต่จำ พอถึงเวลา เอาไปใช้อะไรไม่ได้ สร้างความสับสน แล้วก็จบกัน.... การสอนพิเศษแบบใช้สูตรลัด แม้ว่าจะทำให้ตื่นเต้น และสร้างความประทับใจให้กับเด็กอย่างมาก แต่ “หากคุณต้องการเป็นอาจารย์ที่ดี สูตรลัดระดับเทพของคุณ เก็บไว้บนหิ้งเถอะครับ” หากคิดอยากจะสอน เอาแบบลัดนิดๆ ทำให้วิธีคิดดูฉลาดขึ้น สามารถเอาไปใช้ได้จริง ในสถานะการณ์ส่วนใหญ่ อย่างนี้น่าประทับใจกว่า
สำหรับติวเตอร์บางท่าน อ่านตรงส่วนนี้ พอเข้าใจ แต่ก็อาจจะมีคำถามขึ้นมาในในว่า “แล้วไอ้หัวใจสำคัญที่ว่านี่ จะสอนยังไง” ลองมาดูตัวอย่างแบบนี้นะครับ ผมขอยกตัวอย่างในวิชาคณิตศาสตร์ ในบทเรื่อง “เรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่“ แล้วกัน  (บางคนอ่านไม่เข้าใจ ก็อย่าว่ากันนะครับ)

“สมมุติว่า ผมมีตัวอักษร อยู่สามตัวนะ เป็นตัวอักษร A ตัวอักษร B แล้วก็ตัว C อ้าววว ไหนลองเอาตัวอักษรสามตัวนี้ มาเขียนเรียงสลับกันไปมา ซิ ว่ามันจะได้กี่แบบ ลองนับดูๆ จะได้ ABC แล้วก็ ACB แล้วก็ BAC แล้วก็ BCA แล้วก็ CAB แล้วก็ CBA มีอีกไหมหว่า???? หมดแล้วเน๊อะ ทั้งหมด ก็นับได้ 6 แบบ เน๊อะ”
“อะ คราวนี้ ถ้าผมมีตัวอักษร ห้าตัว เป็นตัวอักษร A,B,C,D และ E ถ้าเอามาเรียงสลับกันไปมา แล้วมันจะได้กี่แบบหว่า???? โห... มันคงเยอะน่าดูเลยอะ งานนี้มานั่งนับแบบเดิมคงไม่ไหว มันก็ต้องมีวิธีการคำนวณใช่มะ?? เราก็เลยต้องมาเรียนบท เรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ยังไงล่ะ”

พอจะเห็นอะไรจากคำพูดข้างต้นของผมไหมครับ??? ผมกำลังจะบอกกับนักเรียนว่า “หัวใจสำคัญของบทนี้ คือวิธีการคำนวณว่า มันมีกี่แบบ ไม่ใช่การมานั่งนับแบบเดิมๆ” หลังจากที่ผมอธิบาย ภาพรวมของเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว เมื่อผมลงรายละเอียด ย่อยๆลงไป ผมเชื่อว่า เด็กก็ยังไม่หลุด เพราะเค้าก็ยังเชื่อว่า ไม่ว่าจะลงรายละเอียดแค่ไหน มันก็ยังคงอยู่ในเนื้อหาแบบเดิมๆ คือ “วิธีการคำนวณว่า มันมีกี่แบบ ไม่ใช่การมานั่งนับแบบเดิมๆ”
ข้อต่อ ทำให้ เคลื่อนที่ได้อย่างนุ่มนวล
หลังจากที่ผมพูดถึง ความสำคัญของหัวใจ กันไปในหัวข้อที่แล้ว คราวนี้ผมจะมาพูดถึง “รายละเอียด” กันบ้าง แน่นอนว่า การสอนหนังสือ ให้เด็กเข้าใจอย่างครบถ้วน ก็ต้องลงรายละเอียดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะลงรายละเอียด แต่ “จำเป็นต้องเชื่อมต่อรายละเอียดของแต่ละอันด้วย” ไม่ใช่ พูดขึ้นมาลอยๆ พอจบ ก็ลงรายละเอียดอันใหม่ แล้วก็จบไปทีละอันๆ อย่างนี้ ก็จบข่าวเลยครับ ในหัวข้อนี้ผม ไม่ต้องการอธิบายยืดเยื้อ เรามาลองดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า ผมขอยกตัวอย่างในวิชาคณิตศาสตร์เช่นเคยนะครับ เป็นบท “จำนวนเชิงซ้อน” ก็แล้วกัน

“ไอ้จำนวนเชิงซ้อน ฟังดูแล้วมันก็ดูยากๆพิกล เอางี้...จำนวนเชิงซ้อน มันก็คือจำนวน นี่แหละ”
“แล้วไอ้ จำนวน ที่เราเรียนกันมาตั้งแต่ ตัวเท่าลูกแมว มันเอาไว้ทำอะไรกันบ้างล่ะ แน่นอนว่า มันก็ต้องเกี่ยวกับ การบวก ลบ คูณ แล้วก็ หารใช่มะ???? ซึ่งถ้ามัน บวก ลบ คูณ หาร กันได้ ไอ้จำนวนเชิงซ้อนที่ว่าเนี่ย มันก็ต้อง บวก ลบ คูณ หารได้เหมือนกันแหละ เพราะมันก็คือ จำนวน เหมือนกัลลลลล”

อ่านดีๆนะครับ เห็นสั้นๆ แต่ความหมายลึกซื้งนะครับ อย่างแรก ผมสอน “หัวใจสำคัญ” นั่นคือ จำนวนเชิงซ้อน ก็ยังคงเป็นจำนวนที่เราเคย รู้มาตั้งแต่เด็ก อย่างที่สอง ผมกำลัง “เชื่อมต่อ” ระหว่างจำนวนธรรมดา กับ จำนวนเชิงซ้อนว่า มันมีคุณสมบัติ ของการ บวก ลบ คูณ และ หาร ด้วย
ในช่วง เจ็ดปีมานี้ ผมไม่เคยเตรียมการสอนเลย หลายคนอาจจะคิดในใจว่า เออ... เอ็งมันเก่ง อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิดครับ ผมอยากจะบอกว่า “เตรียมคำพูด สำคัญกว่า การเตรียมสอน” ทุกครั้งที่ผมจะสอนพิเศษ ผมจะมานั่งเงียบๆคนเดียว คนทั่วไปมองว่า ผมนั่งเฉยๆ แต่ที่จริงแล้ว ผมกำลังเตรียมคำพูดที่กลั่นกรองว่า “จะพูดให้ง่ายทำยังไง จะเชื่อมต่อทำยังไง จะอธิบายภาพรวม ทำยังไง” มากกว่า ถึงแม้ว่า ผมจะสอนพิเศษมาสิบกว่าปีแล้ว ผมก็ไม่เคยละเลยที่จะทำแบบนี้ ดังนั้น อย่าเพิ่งมองผมแต่ภายนอกครับ ผมยังเตรียมทุกวันครับ แต่ไม่ใช่การเตรียมการสอน แต่ “เตรียมคำพูด” ครับ
เด็กบางประเภทที่ไม่ควรสอน
ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เกิดจากประสบการณ์ตรงของผมเอง แน่นอนว่าทุกวันนี้ชีวิตการสอนหนังสือของผมก็ไม่ได้ราบรื่นตลอด หลายคนที่อ่านบทความ นี้อาจจะมองว่าผมเป็นครูตัวยง ที่สอนเด็กได้ทุกประเภท คำตอบคือไม่ใช่ ผมมักจะเลี่ยงกับเด็ก หรือผู้ปกครองบางประเภท เพราะผมก็ไม่อยากที่จะปวดหัว และอายุสั้น ผมคิดว่าผมควรจะเก็บอายุของผมไว้สอนเด็กคนอื่นๆได้อีกมาก เด็กประเภทที่ผมจะไม่สอนจะมีดังต่อไปนี้
มารยาททราม ผมเคยสอนเด็กคนหนึ่งเป็นเด็ก ม.4 ผู้ชาย อยู่โรงเรียนชื่อดังในเครือคาธอลิค เวลาเด็กคนนี้โมโห เมื่อเวลาเค้าพูดกับแม่ของเค้า จะใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า กู..... ในขณะที่เค้าใช้สรรพนามเรียกแม่ของเค้าว่า มึง..... คงไม่ต้องมานั่งบอกเหตุผลนะครับ ว่าทำไมผมไม่สอน และเด็กที่มีบางอาการที่เรียกว่า นั่งด่าอาจารย์ที่โรงเรียนให้ฟัง ใช้สรรพนามว่า อีนี่แม่ง.... ไอ้นั่นแม่ง.... โอ้โห ตัวเองละก็ดีตายเลย โอเคครับ (มึง) กลับบ้านไปเถอะครับ!!
กบในกะลา ชาล้นถ้วย ป่วยไม่รักษา เด็กที่มีอาการเป็นกบในกะลามักจะมีคำพูดติดปากว่า ตรงนี้ผมรู้แล้ว ตรงนั้นผมรู้แล้ว อ๋อ ตรงนี้ผมเก่ง ตรงนี้ข้ามไปก็ได้ครู ผมได้แล้ว เวลาผมเจอคำพูดเหล่านี้บ่อยๆ ผมมักจะหยิบข้อสอบ PAT 1 ออกมาแล้ววางไว้ตรงหน้าเด็ก แล้วพูดออกไปว่า “งั้นเราทำตรงนี้ให้ดูหน่อยสิ” ซึ่งเด็กส่วนใหญ่มักจะทำไม่ได้ สำหรับอาการกบในกะลา กับชาล้นถ้วยมักจะมีอาการคล้ายๆกัน แต่ชาล้นถ้วยคือ ไม่ค่อยยอมรับ ยอมฟังวิธีอื่นๆ ที่สามารถทำความเข้าใจได้ดีกว่า มักจะมีคำพูดติดปากว่า “ไม่เห็นกับที่โรงเรียนสอนเลย” หรือไม่ก็ “ไม่มีสูตรลัดหรือครู” อะไรทำนองนี้ งั้นน้องก็ไปเรียนสูตรลัดกับครูที่โรงเรียนน้องเหอะนะ อย่ามาเรียนกับครูเลย !! สำหรับในสามอาการข้างต้น อาการป่วยไม่รักษา ดูจะน่ากลัวที่สุด เพราะมันจะเป็นอาการของคนที่ขี้เกียจ แต่จะมาให้เราสอนให้เก่ง ให้สอบผ่าน บอกได้เลยว่า “มันเป็นไม่ได้”  คำว่ารักษานั้น หมายถึง การรักษาด้วยตัวเอง นั่นคือ หากคนไหนรู้ตัวว่าตนเองขี้เกียจ แต่ไม่ยอมแก้ด้วยตัวเอง จะไปให้คนอื่นแก้ ไม่มีทางเป็นไปได้ เต็มที่ก็ทำได้แค่ให้อาการทรงๆ ไม่ให้ทรุดลงไปกว่านี้ ฮ่วย!!! ข้าไม่ใช่เทวดานะเฟ้ย การสอนพิเศษที่ดีและเห็นผลชัดเจน คือจะต้องเป็นแบบ พบกันครึ่งทาง หมายความว่า ผู้สอนก็ต้องตั้งใจสอน และผู้เรียนก็ต้องพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง ขยัน และค่อยๆมีความตั้งใจเพิ่มมากขึ้น เด็กแบบนี้ ต่อให้ซื่อบื้อแค่ไหน ผมสอนตายเลยครับ
พ่อ แม่ ที่คิดว่าลูกตัวเองเป็นเทพจุติ ผมเคยสอนเด็กคนหนึ่งเมื่อกลางปี 53 พ่อ แม่ ของเค้ามาหาผมที่สถาบัน บอกว่าช่วยสอนลูกเค้าให้หน่อย เพราะได้คะแนนสอบ PAT ในครั้งที่หนึ่งออกมาน้อยมาก ถ้าจำไม่ผิด น่าจะได้ประมาณ หกสิบกว่าๆ เต็มสามร้อย พ่อ และ แม่ของเด็กคนนั้น บอกว่าให้ใช้เวลาที่เหลือประมาณหนึ่งเดือนกว่า ช่วยติวลูกเค้าให้ทันในการสอบในครั้งที่สองของปี (การสอบ PAT จะสอบปีละสามครั้ง โดยจะเป็นช่วงมีนาคม ปลายกรกฎาคม และต้นตุลาคม) โดยคำถามแรกที่แม่ของเค้าถามผมได้ถามว่า จะต้องติวกี่ชั่วโมงถึงจะจบ? ซึ่งตัวผมก็ตอบไปแบบกลางๆคือประมาณ 100 ชั่วโมง แม่เค้าบอกว่าจะให้ลูกเค้าติวในวันเสาร์ อาทิตย์ ทั้งวัน วันละ 7 ชั่วโมง เวลาที่เหลือก็น่าจะ สอนได้เนื้อหาประมาณครึ่งหนึ่ง คะแนนคงจะขึ้นมาอีก !!? อนิจจางานเข้าเลย เด็กคนนี้เป็นเด็กต่างจังหวัด เรียนเลขที่โรงเรียนได้เกรด 3.5-4 มาโดยตลอด พ่อ และ แม่เข้าใจว่าลูกตัวเองเก่ง แต่สิ่งที่เค้าเข้าใจ อย่างกับ ฟ้ากับเหว เด็กคนนี้ยังทำเนื้อหาของสมการที่อยู่ ม.3 ยังครึ่งๆกลางๆอยู่เลย เวลาบวกเลข ยังเอานิ้วขึ้นมานับ อ่านโจทย์ยังตีความไม่ได้เลยซักข้อ การเรียนวันละ 7 ชั่วโมง ผมอยากจะบอกว่า แค่ชั่วโมงแรก ก็เอ๋อไปไหนไม่เป็นแล้ว ผมใช้เวลานานพอสมควรที่จะค่อยๆปูพื้นฐานให้ใหม่ ดังนั้นเวลาที่เหลือ จึงสอนได้เพียงแค่สองบท เท่านั้น คะแนนในการสอบออกมาได้ประมาณ ห้าสิบกว่า เมื่อผู้ปกครองรู้ดังนั้น จึงโทรมาถามผม พร้อมกับผมทำนองตัดพ้อว่า คงต้องเลิกเรียนกับผม เพราะคะแนนลูกเค้าลดลง ผมรู้สึกโล่งใจมาก ซึ่งผมก็คิดในใจว่า ก็ดีเหมือนกันกับผู้ปกครองบางประเภทที่คิดว่าลูกตนเองเป็นเพชร แล้วก็เอาดินก้อนหนึ่งมาโยนให้แล้วบอกว่า ช่วยจาระไนเพชร (ดิน) เม็ดนี้ให้เสร็จภายในเวลาสองเดือน ฮ่วย!!! ไปเรียนกับปรมาจารย์ตั๊กม้อเถอะ
สำรวจตัวเอง
นี่เป็นหัวข้อสุดท้ายแล้ว ในที่สุดบทความของผมก็มาถึงปลายทางซักที เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุด ของบทความนี้ครับ เป็นหัวข้อที่ผมจะไม่เขียนรายละเอียดเลย ลองกลับไปสำรวจตัวเอง บ้างนะครับ ซึ่งผมอยากจะบอกว่า “เป็นอาจารย์ อย่าเป็นได้แค่เพียง คนสอนหนังสือ” ในชีวิตผม ถึงแม้ว่าจะสอนพิเศษ มานานมากแล้ว แต่ ทุกวัน ผมยังกลับไปนั่งสำรวจตัวเองอยู่เลย ว่า วันนี้เราสอนเป็นยังไงบ้าง เราพูดยากเกินไปหรือเปล่า เราบ้าพลังเกินไปไหม วันนี้เราไปตรงเวลาหรือเปล่า เราตอบคำถามเด็กชัดเจนไหม วันนี้เราหงุดหงิดกับคำถามเด็กไหม การสำรวจตัวเอง ทุกๆวัน มันทำให้ผม เดินเข้าไปใกล้ความเป็นอาจารย์มากขึ้น แล้วคุณล่ะ “เป็นอาจารย์ หรือ เป็นแค่คนสอนหนังสือ” ถามเอง ตอบเอง โชคดีนะครับ

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการเรียนรู้

2.1 แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการเรียนรู้



การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นได้ทุกแห่งในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้อาจเกิดจากการลองผิด



ลองถูกจากการวางเงื่อนไข ซึ่งอาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์เดิมกับสิ่งใหม่ ๆ หรือ



การเรียนรู้แบบก็ตาม ถือว่าเป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น หรืออาจเกิดจากความต้องการเป็นแรงผลักดัน



เพื่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น และเมื่อเกิดความอยากรู้อยากเห็นแล้วก็จะลงมือกระทำการต่าง ๆ



การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งแห่งการปรับตัวให้เข้ากับสังคม สามารถดำรงชีวิตและพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น



การเรียนรู้ไม่เพียงพอแต่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นภายในโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นได้ในสภาพแวดล้อมทั่วไป การเรียนรู้ของนักเรียนจะเริ่มจากสภาพแวดล้อมทางบ้าน และขยายกว้างขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเขาได้ก้าวสู่โรงเรียน ซึ่งเป็นแหล่งให้ความรู้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งความรู้ในวิชาชีพที่จะนำไป ประกอบอาชีพได้



2.1.1 ความหมายของการเรียนรู้



มีนักศึกษาได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “การเรียนรู้” เอาไว้มากมาย ซึ่งพอสรุปได้ว่า



นักศึกษาต่างก็เห็นว่า การเรียนรู้นั้นเป็นกระบวนการหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล



Klein (1987 : 102) ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถาวรอย่างได้สัดส่วน ในความสามารถแสดงพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในฐานะผลของประสบการณ์ที่ได้รับความสำเร็จหรือไม่ได้รับความสำเร็จ



Good (อ้างใน สุรพันธ์ ตันศรีวงษ์. 2538 : 41) กล่าวว่า การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลง



พฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงในทางตอบสนอง



Hilgard and Bower กล่าวว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง



ไปจากเดิมอันเป็นผลจากการฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นตาม



ธรรมชาติ เช่น สัญชาตญาณ หรือ วุฒิภาวะ หรือจากการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของร่างกาย เช่น



ความเมื่อยล้า พิษของยา เป็นต้น



อาจสรุปได้ว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการหนึ่งที่จัดขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล ที่อาจมีผลสืบเนื่องจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน โดยมีเป้าหมาย คือวัตถุประสงค์ ตอบสนองความต้องการ หรือแก้ปัญหาก็ตาม การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ใน 3 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ และความรู้สึกที่เป็นผลจากสิ่งเร้า สิ่งแวดล้อม ครู สื่อ อุปกรณ์การสอน ครอบครัว สังคม กระบวนการจัดการเรียนการสอน แรงจูงใจ และมีการตอบสนองจากนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความสนใจใฝ่รู้เข้ามามีส่วนร่วมหลายๆ ครั้ง จนมีพัฒนาการเป็นนิสัยหรือพฤติกรรม ในที่สุดแล้วจึงสามารถกล่าวได้ว่าการเรียนรู้เกิดสัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์





องค์ประกอบของการเรียนรู้



Gagne (อ้างใน กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ . 2524:132) กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญที่ทำ



ให้เกิดการเรียนรู้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ



1. ผู้เรียน (The Learner)



2. สิ่งเร้า (Stimulus ) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ โดยสิ่งเร้าหมายถึงสิ่งแวดล้อม



รอบๆ ตัวผู้เรียนหรือสถานการณ์ต่าง ๆ หมายถึงสถานการณ์หลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน



3. การตอบสนอง (Response)เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับสิ่งเร้า



แต่ในขณะที่ เชียรศรี วิวิธสิริ (2527: 23-24) กล่าวว่า สิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ



1. ตัวผู้เรียนต้องมีความพร้อม มีความต้องการที่จะเรียน มีประสบการณ์มาบ้าง



แล้ว และมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่จะเรียน



2. ตัวครูจะต้องมีบุคลิกภาพดี มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี มีวิธีการเทคนิค



ที่จะถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียนได้หลายวิธี และแต่ละวิธีที่ใช้จะต้องเหมาะสมกับแต่ละเนื้อหาวิชา และต้องรู้จักการใช้สื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่จะสอน เพื่อผู้เรียนจะได้เข้าใจง่าย



3. สิ่งแวดล้อม ต้องมีบรรยากาศในชั้นเรียนดี มีมนุษย์สัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เรียนกับ



ผู้สอน มีสถานที่เรียน ตลอดจนอุปกรณ์ เช่น ม้านั่ง โต๊ะเรียนที่อำนวยความสะดวก และเหมาะสม สถานที่เรียนต้องมีบรรยากาศถ่านเทดี อยู่ห่างไกลจากสิ่งรบกวน และแหล่งเสื่อมโทรมต่าง ๆ ทางไปมาสะดวก







สอดคล้องกับ ปราณี รามสูต (2528: 79-82) กล่าวว่า องค์ประกอบที่ส่งเสริมการเรียนรู้นั้นแบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ คือ



1. องค์ประกอบที่เกี่ยวกับผู้เรียน ได้แก่ วุฒิภาวะ และความพร้อม ในการเรียนรู้ใด ๆ



ถ้าบุคคลถึงวุฒิภาวะและมีความพร้อมจะเรียนรู้ได้ดีกว่ายังไม่ถึงวุฒิภาวะ และไม่มีความพร้อมความสามารถมนการเรียนรู้จากเด็กวัยรุ่นจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่จะคงที่จากวัยผู้ใหญ่หรือวัยชราจะลดลง ประสบการณ์เดิม ความบกพร่องทางร่างกาย ยิ่งมีความบกพร่องมากเท่าใด ความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ก็น้อยลงเท่านั้น แรงจูงใจในการเรียน เช่น รากฐานทางทัศนคติต่อครู ต่อวิชาเรียน ความสนใจและความต้องการที่อยากจะรู้อยากเห็นในส่วนที่เรียน



2. องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบทเรียน เช่น ความยากง่ายของบทเรียนถ้าเป็นบทเรียนที่ง่าย



ผลการเรียนรู้ย่อมดีกว่าการมีความหมายของบทเรียน ถ้าผู้เรียนได้เรียนในสิ่งมีมีความหมายเป็นที่สนใจของเขา ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู่ได้ดีกว่า ความยาวของบทเรียน บทเรียนสั้น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่าบทเรียนที่ยาว ตัวรบกวยจากบทเรียนอื่น หรือจากกิจกรรมอื่น จะขัดขวางการเรียนรู้ในสิ่งนั้น ๆ ไม่ว่าตัวรบกวนนั้นจะเป็นกิจกรรมก่อนหรือหลังการเรียนรู้



3. องค์ประกอบที่เกี่ยวกับวิธีเรียนวิธีสอน เช่น กิจกรรมในการเรียนการสอน ครูควร



เลือกกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ดีที่สุดแก่นักเรียน ตามเนื้อหาวิชาและโอกาส การให้รางวัลและลงโทษ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน การให้คำแนะนำในการเรียน โดยครูแนะนำให้ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ดีขึ้น



4. องค์ประกอบการสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา ได้แก่



บรรยากาศในห้องเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนต่อนักเรียน ระหว่างนักเรียนกับครู สภาพของโต๊ะ เก้าอี้ ทิศทางลม แสงสว่าง ความสะอาด ความเป็นระเบียบ



ในทำนองเดียวกัน วนิช บรรจง และคณะ (2514:87) กล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ดังนี้



1. การจูงใจ การเรียนรู้ต้องมีมูลเหตุจูงใจ ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียน การจูงใจอาจทำได้โดยการให้รางวัลและลงโทษ การให้คะแนน การยอมรับนับถือจากผู้อื่น ความสำเร็จในการงาน การรู้จุดมุ่งหมายของการเรียน



2. ตัว ครู ต้องเป็นคนดีในทุก ๆ ด้าน ควรเป็นผู้ที่รักในวิชาที่ตนสอนและต้องปลูกฝังความรักความสนใจและความเข้าใจ ในตัวเด็ก สนใจผู้เรียน นอกจากนี้ต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ของการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของลักษณะวิชา ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ให้ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์



3. สิ่ง แวดล้อมทั้งทางครอบครัว และทางโรงเรียนโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมทางโรงเรียนมีผลต่อการเรียนรู้เป็นอย่าง มาก เช่น สภาพของห้องเรียนที่น่าอยู่น่าอาศัย อุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบทเรียน



4. อุปกรณ์ การศึกษาหรือเครื่องมือที่ครูนำมาประกอบการสอน ช่วยให้ครูสามารถถ่ายทอดข้อเท็จจริง ทักษะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และจะช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายทางช่วยเร้าความ สนใจแก่ผู้เรียน ตลอดจนทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจเรียน ไม่เบื่อหน่ายและรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน



5. วินัย เป็นเครื่องมือช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความเรียบร้อย และมีความสุขช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นไปอย่างเรียบร้อย ซึ่งจะส่งผลการเรียนรู้ของผู้เรียน



6. การ วัดและการประเมินผลการศึกษา จะช่วยให้เห็นความก้าวหน้าของผู้เรียนได้อย่างแจ่มชัด ทำให้สามารถปรับปรุงผลการเรียนทั้งรายบุคคลและส่วนรวมได้เป็นอย่างดี กล่าวได้ว่านักเรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญองค์แระกอบแรกของการเรียนรู้ การเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในตัวนักเรียน นักเรียนเป็นผู้ที่รู้ด้วยตนเอง พบเอง เห็นเอง และเปลี่ยนประสบการณ์และพฤติกรรมด้วนตนเอง นอกจากนี้ในการเรียนรู้ยังต้องพิจารณาองค์ประกอบด้านความแตกต่างระหว่าง บุคคล เพราะมนุษย์เรามีความแตกต่างกันทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และความถนัด ความแตกต่างทั้ง 5 ด้านนี้ เป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้โดยตรง อันจะเป็นผลให้มนุษย์เรามีการรับรู้ได้แตกต่างกัน





2.1.3 ทฤษฎีการเรียนรู้



ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theories of Learning) เป็น พื้นซานเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้นี้จะ เป็นหลักของการสอนและวิธีการสอน ทฤษฎีการเรียนรู้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ



1.ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)



นัก จิตวิทยาในกลุ่มนี้ ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เห็นชัด สามารถวัดได้ สังเกตได้และทดสอบได้ แนวความคิดของกลุ่มนี้ถือว่าสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนด พฤติกรรมและการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการ ตอบสนอง การแสดงพฤติกรรมจะมีความถี่มากขึ้นถ้าหากได้รับการเสริมแรง แต่นักจิตวิทยาบางคนในกลุ่มนี้ไม่เห็นด้วย และได้เสนอความคิดเห็นว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นถ้าหากได้รับการเสริมแรง แต่นักจิตวิทยาบางคนในกลุ่มนี้ไม่เห็นด้วย และได้เสนอความคิดเห็นว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ถ้ามีความใกล้ชิดระหว่าง สิ่งเร้า และการตอบสนอง



กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2523 : 23) ได้สรุปแนวความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมไว้ว่าพฤติกรรมทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุ สาเหตุนั้นมาจากวัตถุหรืออินทรีย์ ซึ่งเรียกสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์ จะมีพฤติกรรมแสดงออกมาเรียกว่า การตอบสนอง (Response)



ซึ่งก็คือพฤติกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้ามาเร้าอินทรีย์นั่นเอง



กลุ่มพฤติกรรมนิยมสามารถจำแนกทฤษฎีการเรียนรู้หลัก ๆ ได้ 3 ทฤษฎี (พรรณี ช. เจนจิต. 2538 : 275-351)



1. Classical Conditioning หมายถึง การเรียนรู้ใด ๆ ก็ตาม ซึ่งมีลักษณะการเกิดตามลำดับขั้น ดังนี้



1.1 ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง โดยไม่สามารถบังคับได้ มีการสะท้อนกลับ (Reflex) ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเรียนรู้ (Unlearned หรือ Unconditioned) เป็นไปโดยอัตโนมัติ ผู้เรียนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมได้



1.2 การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิด และการฝึกหัดโดยการนำสิ่งเร้าที่มีลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่สามารถทำให้เกิดการตอบสนองได้มาเป็น Conditioned Stimulus (CS) โดย นำมาควบคู่กับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองในช่วงที่ผู้เรียนเกิดการตอบ สนองต่อสิ่งเร้าที่เคยเป็นกลางนั้นเรียกว่า เกิดการเรียนรู้ ชนิดมี Conditioned



2. Operant Conditioning ทฤษฎีนี้ได้เน้นถึงความสำคัญของการเสริมแรงโดย Skinner มีความคิดเห็นว่า การเสริมแรงจะมีส่วนช่วยให้มนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่จะเป็นไปในลักษณะที่ว่าอัตราการแสดงการกระทำต่าง ๆ มักจะมีการกระทำต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เสมอ ๆ พฤติกรรมใดก็ตามที่ได้เป็นการกระทำต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่ว่าเป็นผลชอง อัตราการตอบสนองซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ เราเรียกสิ่งที่ทำให้อัตราการตอบสนองของผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า ตัวเสริมแรง แต่ถ้าพฤติกรรมใดก็ตามไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วหลักการของทฤษฎีนี้ถือว่า พฤติกรรมนั้นไม่ได้รับการเสริมแรง



ทฤษฎีของ Skinner นี้อาจนำมาใช้ในการวัดพฤติกรรมหรือปลูกฝังพฤติกรรม



หรือ สร้างลักษณะนิสัยใหม่ ๆ ได้ วิธีการวัดพฤติกรรมนี้จำเป็นจะต้องใช้สิ่งเสริมแรง เข้าช่วยในระยะที่ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่จะต้องการปลูกฝัง นั่นคือถ้าผู้เรียนกระทำพฤติกรรมที่ต้องการจะให้เกิดพฤติกรรมแล้วจะต้องรีบ ให้รางวัลโดยทันที



3. Social Learning หรือ การเรียนรู้ทางสังคม Bendura มีความเห็นว่า คนเรียนรู้ที่จะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมของตัวแบบ (ซึ่งตัวแบบแจจะได้รับแรงเสริมหรือไม่ได้)กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมจะ ประกอบด้วย



3.1 ความใส่ใจ (Attention) จัดได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้าผู้เรียนไม่มีความใส่ใจในการเรียนรู้ โดยการสังเกตหรือเลียนแบบก็จะไม่เกิดขึ้น



3.2 การจดจำ (Retention) เมื่อผู้เรียนมีความสนใจในการเรียน ผู้เรียนก็จะสามารถจดจำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้



3.3 การลอกเลียนแบบ (Reproduction) เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนแปรสภาพสิ่งที่จำได้ ออกมาเป็นการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมที่เหมือนหรืใกล้เคียงตัวแบบ



3.4 แรงจูงใจ (Motivation) หมายถึง การเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงอาจจะมาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยตรง หรือจากการคาดหวังว่าจะได้รับรางวัลเหมือนตัวแบบ (Vicarious) หรือ จาการที่ตั้งมาตรฐานด้วยตนเองและได้ให้ข้อเสนอแนะว่า พฤติกรรมทางสังคมหลาย ๆ ชนิด เช่น ความก้าวร้าวอาจจะเรียนรู้ได้โยการเลียนแบบจากตัวแบบ นอกจากนั้นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านวิชาการก็สามารถเรียนรู้ได้จาการ สังเกตและเลียนแบบจากตัวแบบ เช่น ความมานะพยายาม ความเชื่อมั่น ในตัวเองและทักษะทางสติปัญญา





2. ทฤษฎีความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีปัญญา (Cognitive Theories)



พรรณี ช. เจนจิต (2538: 404-406) ได้สรุปแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีความเห็นว่าการศึกษาพฤติกรรมควรเน้น ความสำคัญของการะบวนการคิด และการรับรู้ของคน ได้ให้ข้อเสนอ แนะว่าคนทุกคนทีธรรมชาติภายในที่ใฝ่ใจใคร่เรียน เพื่อก่อให้เกิดสภาพที่สมดุล ดังนี้ นั้นการที่เด็กได้มีโอกาสเรียนตามความต้องการ และความสนใจของตน จะเป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็กมากกว่าที่ครูหรือผู้อื่นจะบอกให้ ซึ่งก็คือ “การจัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ”



แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้มาจากหลักการของ Field theory ซึ่ง Lewin เป็น ผู้เสนอไว้ ทฤษฎีนี้เน้นเกี่ยวกับการรับรู้ของคนซึ่งจะได้รับอิทธิพลทั้งจากวิธีการที่ คนจัดสิ่งเร้าเพื่อให้เกิดการรับรู้หรือจากประสบการณ์ หรือจากความสนใจของบุคคล Lewin ได้อธิบายเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมของคนอันเนื่องมาจากการรับรู้ด้วย “Life Space” ซึ่งคนจะแสดงพฤติกรรมตามสิ่งที่ตนรับรู้ภายใน Life Space นั้นๆ ซึ่งถือว่าเป็น สิ่งแวดล้อมตามที่เรารับรู้ ดังนั้น ในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของคน จำเป็นจะต้องรู้ทุก ๆ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับคน ๆ นั้นภายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยเฉพาะ แต่มีหลักการบางอย่างของจิตวิทยากลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากกลุ่ม Gestal ซึ่งเน้นเกี่ยวกับเรื่องความเข้าใจอย่างแท้จริง Bruner ได้ชี้ให้เห็นว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้น วิธีที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และจำสิ่งที่เรียนไปแล้วได้คือการใช้ “เค้าโครง” หรือ “โครงสร้าง” เพื่อ ช่วยให้เด็กมองเห็นภาพรวมของสิ่งที่จะเรียนทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เด็กสามารถเข้าใจหลักการของสิ่งที่เรียน ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ในเรื่องอื่น ๆ ได้อีก นอกจานั้นยังเป็นลู่ทางที่เด็กจะสามารถเรียนสิ่งอื่นที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ต่อไป



ในด้านการจัดการเรียนการสอนนักจิตวิทยากลุ่มนี้ ได้เสนอให้ใช้เทคนิคของ Discovery ซึ่งหมายถึง การที่ให้เด็กได้คนพบวิธีแก้ปัญญาด้วยตนเอง ซึ่งจาการที่เด็กทำได้ด้วยตนเองเช่นนั้น จะช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง และทำให้เด็กคุ้นเคยกับทักษะของการแก้ปัญหา นอกจากนั้นยังมีการใช้เทคนิคของการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง การเปิดโอกาสให้เด็กทำผิดพลาดและการคิดผิด เพื่อที่จะได้ทราบความคิดของเด็ก ตลอดจนการใช้เทคนิคการสอบถาม (Inquiry) เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการตั้งคำถาม



ในปัจจุบันการจัดการศึกษาตามแนวความคิดของกลุ่มนี้ได้ให้ความสนใจกับการจัดการเรียนการสอนในลักษณะ Espoxitory ซึ่ง ก็คือ การสอนที่ครูให้ทั้งหลักเกณฑ์และผลลัพธ์แต่เป็นไปในลักษณะที่ผู้เรียนเรียน อย่างรู้ความหมาย โดยที่ถือว่าเป็นการเรียนรู้จะเดขึ้นได้ถ้าในการเรียนรู้สิ่งใหม่นั้นผู้ เรียนเคยมีพื้นฐานเดิมซึ่งสามารถเชื่องโยงเข้ากับการเรียนรู้ใหม่ได้ ไม่ได้เป็นการเรียน สิ่งใหม่ทั้งหมดโดยไม่ได้นำความรู้เดิมมาใช้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นการจัดการเรียนการสอนก็จะเป็นไปในลักษณะของการท่องจำ







3. ทฤษฎีของกลุ่มมนุษยนิยม (Humanisticism)



กลุ่ม มนุษยนิยมจะคำนึงถึงความเป็นคนของคน จะมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีที่ติดตัว มาแต่เกิด มนุษย์เป็นผู้ที่มีอิสระสามารถที่จะนำตนเองและพึ่งตนเองได้ เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ให้สังคม มีอิสรเสรีภาพที่จะเลือกทำสิ่งต่าง ๐ ที่จะไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อน ซึ่งรวมทั้งตนเองด้วย มนุษย์เป็น(ที่มีความรับผิดชอบและเป็นผู้สร้างสรรค์สังคม



Maslow (อ้างใน พรรณี ช. เจนจิต 2538: 438-439) ได้เสนอแนวคิดใหม่ เรียกว่า Third Force Psychology ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานว่า “ถ้า ให้อืสรภาพแก่เด็กเด็กจะเลือกสิ่งทีดีสำหรับตนเอง พ่อแม่และครูได้รับการกระตุ้นให้มีความไว้วางใจในตัวเด็กและควรเปิดโอกาสและ ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตต่อไป ไม่ใช่ใช้วิธีการควบคุมและบงการชีวิตของเด็กทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามที่ตน เองต้องการ



สรุปได้ว่า (อ้าง ภรณ์ชนก บูรณะเรข) แนวความคิดของกลุ่มมนุษย์นิยมที่เกี่ยวกับการศึกษา คือ นักเรียนควรจะได้รับความช่วยเหลือให้มีความเข้าใจในตนเอง มีจุดยืนเป็นของตนเองอย่างชัดเจนว่า ตนเองมีความต้องการสิ่งใดแน่และมีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เพราะในปัจจุบันมีสิ่งที่เด็กจะต้องตัดสินใจเลือกมากมาย คนที่มีจุดยืนที่แน่นอนเท่านั้นจึงจะสามารถเลือกสิ่งที่มีความหมายและก่อให้เกิดความพึงพอใจให้กับตนเองให้ดีที่สุด นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเห็นตรงกันว่า เด็กควรได้รับความช่วย เหลือจากครูในทุกด้านไม่ใช่เฉพาะการได้รับความรู้ หรือ การมีความเฉลียวฉลาดเพียงอย่างเดียว แต่ควรได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และทำความเข้าใจเกี่ยว กับความรู้สึกนึกคิด เจตคติ และจุดมุ่งหมายความต้องการของตนเอง







4. ทฤษฎีผสมผสาน ( Integrated Theory )



ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Gagne ( อ้างใน ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ 2543 : 86-88 ) ได้ผสมผสานทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับทฤษฏีความรู้ความเข้าใจ แล้วสรุปเป็น 8 ขั้นตอนในการเรียนรู้



1. การเรียนรู้สัญญาณ ( Sign Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับต่ำสุด เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ เช่น จกการทดลองการหลั่งน้ำลายของสุนัข เมื่อสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่ง ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขของ Pavlov การเรียนรู้สัญญาณเป็นสิ่งที่เราสามารถสังเกตเห็นจากชีวิตประจำวันของเรา ได้แก่ การกระพริบตา เมื่อมีของมากระทบตาเรา



2. การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ( Stimulus Response Learning ) เป็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายต่อสิ่งเร้า เป็นการเน้นข้อต่อระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยผู้เรียนเป็นผู้กระทำเอง เช่น การทดลองจิกแป้นสีของนกพิราบจากการทดลองของ Skinner



3. การเรียนรู้การเชื่อมโยง ( Chaining ) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองติดต่อกับเป็นการเรียนรู้ในด้านทักษะ เช่น การเขียน การอ่าน การพิมพ์ดีด และการเล่นดนตรี เป็นต้น



4. การเชื่อมโยงทางภาษา ( Verbal Association ) เป็นการเชื่อมโยงความหมายทางภาษาโดยออกมาเป็นคำพูด แล้วจึงใช้ตัวอักษร เช่น การเรียนการใช้ภาษา รวมทั้งการเขียนตัวอักษรด้วย



5. การแยกประเภท ( Multiple Discrimination Learning ) เป็นความสามารถในการแยกสิ่งเร้าและการตอบสนอง ผู้เรียนเห็นความแตกต่างของสิ่งของประเภทเดียวกัน เป็นการจำแนกความแตกต่างด้านทักษะและภาษา สามารถแยกลักษณะของลายเส้นจากหมึกได้



6. การเรียนรู้ความคิดรวบยอด ( Concept Learning ) เป็นความสามารถที่ผู้เรียนมองเห็นลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ เช่น เมื่อนึกถึงวิทยุก็นึกถึงความถี่ของเสียง การใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่การรับฟังข่าวสารบันเทิงได้



7. การเรียนรู้หลักการ ( Principle Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำความคิดรวบยอดสองความคิดหรือมากกว่านั้นมาสัมพันธ์กัน แล้วสรุปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น เช่น ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน



8. การเรียนรู้การแก้ปัญหา ( Problem - Solving ) การเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากที่ผู้เรียนนำหลักการที่มีประสบการณ์มาก่อนมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและปัญหา เช่น ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน เราก็นำไฟฟ้ามาใช้หุงต้มได้



ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการผสมผสานหลักการเรียนรู้ตามทฤษฎีต่าง ๆ เข้ามาร่วมกันเพื่อทำให้นักเรียนสามารถเลือกใช้หรือเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีการผสมผสานหลักทฤษฎีเข้าด้วยกัน การจัดกระบวนการให้เชื่อมโยงถ่ายโอนความรู้หรือแยกแยะให้เห็นความแตกต่าง แล้วเอาความรู้พื้นฐานของตนมาร่วมคิดประกอบก่อนตัดสินใจ ตอบสนอง หรือแก้ปัญหานั้น ๆ

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้



ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

เนื้อหา

  • 1 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)
  • 2 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor)
  • 3 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
  • 4 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
  • 5 ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (Gagne)
  • 6 องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย่ (Gagne)

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)

Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
  • ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
  • ความเข้าใจ (Comprehend)
  • การประยุกต์ (Application)
  • การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
  • การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
  • การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor)

ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
  • พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
  • เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
  • มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)

  • ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
  • ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
  • ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
  • ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
  • ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
  • เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)

  • ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
  • การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
  • บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม

ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (Gagne)

  • การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
  • การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
  • การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
  • ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
  • ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
  • การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
  • การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
  • การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง

องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย่ (Gagne)

  • ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้
  • สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
  • การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ (Gagne)
  • เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
  • ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
  • บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
  • กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
  • เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
  • การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
  • การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
  • การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
  • การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
  • การนำไปใช้กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม

ซันเดย์ติวเตอร์
http://www.sundaytutor.com/








ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์



การศึกษาแนวใหม่ได้จำแนกทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ออกเป็น 3 ทฤษฎี.....
การศึกษาแนวใหม่ได้จำแนกทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ออกเป็น 3 ทฤษฎี คือ
 1. ทฤษฎีแห่งการฝึกฝน (Drill Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้โดยการฝึกทำสิ่งนั้นซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง การสอนเริ่มโดยครูบอกสูตรหรือกฎเกณฑ์ให้ แล้วให้เด็กทำแบบฝึกหัดมากๆ จนกระทั่งเด็กมีความชำนาญ
2. ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้โดยบังเอิญ (Incedental learning Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดี เมื่อเด็กเกิดความพร้อมหรืออยากเรียนรู้ในสิ่งนั้นๆ การสอนจะพยายามให้นักเรียนเรียนคณิตศาสตร์ในบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด และน่าเบื่อหน่าย สอนโดยมีกิจกรรมหลากหลายและยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
3. ทฤษฎีแห่งความหมาย (Meaning Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้และเข้าในในสิ่งที่เรียนได้ดีเมื่อเด็กได้เรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อตัวเอง เรียนให้มีความหมายโครงสร้าง Concept และให้นักเรียนเห็นโครงสร้างของคณิตศาสตร
ในการเรียนการสอนคณิตสาสตร์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ทั้ง 3 ทฤษฎีผสมกัน โดยขึ้นกับดุลยพินิจของครูผู้สอน ว่าในแต่ละเนื้อหาวิชา ลักษณะของเด็ก สภาพแวดล้อมขณะนั้น ตลอดจนตัวผู้สอนเอง ควรจะยึดหลักทฤษฎีไหนบ้าง มากน้อยเพียงไร



ซันเดย์ติวเตอร์
http://www.sundaytutor.com/

ที่มา : www.tukata.igetweb.com






การสอนในแง่มุมต่างๆ



การสอนในแง่มุมต่างๆ

การถ่ายทอดความรู้ ทักษะกระบวนการ เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และมวลประสบการณ์ของผู้สอนให้แก่ผู้เรียน ซึ่งในปัจจุบันเป็นยุคของการปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้สอนจึงเปลี่ยนบทบาทจากการสอนมาเป็น การจัดการเรียนรู้ และผู้อำนวยการสะดวก

บทความต่างๆ
 การคิดและการสอนเพื่อพัฒนาการคิด

การจัดการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนทิศทาง จุดมุ่งหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้คนไทยให้เป็นคนดี คนเก่ง อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



นิคม ปิยมโนชา - 19 มิ.ย. 2547
นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรม หมายถึง การทำอะไรใหม่ๆ



สมศักดิ์ ศิริวงศ์ - 02 ก.ค. 2547
 รูปแบบการสอน

ความหมายของรูปแบบ ลักษณะของรูปแบบ การจัดกลุ่มของรูปแบบการพัฒนาการสอนเพื่อพัฒนาปัญญา ตัวอย่างกิจกรรมการสอนคิด



รัตนา สิงหกูล - 20 มิ.ย. 2547
 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนการสอนในแนวนี้ทำให้เด็กเรียนรู้จากการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น การจัดการเรียนการสอนต้องทำให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กแต่ละคน ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ ผู้เรียนมีบทบาท และมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียบนรู้ควบคู่ไปกับผลงาน ข้อความรู้ที่สรุปได้ (Process / Product ) จากการศึกษาค้นคว้า นำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ( Application )



สมชาย พงศ์วิลาวัณย์ - 20 มิ.ย. 2547
 การพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์

-



พิมพ์ศิริ สิทธิวัง - 19 มิ.ย. 2547
 ครูชาตรีสอนสมการคณิตศาสตร์

ขอนำเสนออีกมุมหนี่งของการจัดการความรู้ที่สะท้อนวิธีการนำความรู้มาใช้ประโยชน์ของครูท่านหนึ่งที่มีความเป็นครูอย่างเปี่ยมล้น เข้าใจถึงวิธีการเข้าถึงก้นบึ้งในจิตใจของนักเรียน และรู้ว่า “ครูควรจะทำอย่างไรให้เด็กชอบในสิ่งที่เด็กกำลังเรียนรู้ มากกว่าเลือกเรียนรู้แต่สิ่งที่เด็กชอบเพียงอย่างเดียว”



ณัฏฐพล ขวัญเจริญ - 13 มิ.ย. 2547

ซันเดย์ติวเตอร์
http://sundaytutor.com/




เทคนิคการสอนแนวใหม่









เทคนิคการสอน

เทคนิคการสอนแนวใหม่

คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง เช่น ความพร้อม สติปัญญา เจตคติ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ แล้ว กระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ นำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ เข้าใจในสิ่งที่ ต้องการให้ผู้รู้นั้นนับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อให้เกิด ประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมให้ผู้สอนได้เห็นแนวทางในการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ความรู้เรื่อง เทคนิคการสอนแนวใหม่จึงมีความจำเป็นที่ผู้สอนควรจะศึกษาเพื่อจะเป็น “ ผู้สอนใน ยุคโลกาภิวัตน์ ”

เทคนิคการสอนแนวใหม่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน และใช้ได้ผล ประกอบด้วยเทคนิค การสอนดังต่อไปนี้

1. เทคนิคการสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน ( Co – operative Leanning )

ความหมาย เป็นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ผู้เรียนทำงานร่วมกันและช่วยเหลือ กันในชั้นเรียน ซึ่งจะสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน และยังเพิ่มปฏิสัมพันธ์ที่ยอมรับซึ่งกันและกัน สร้างความภาคภูมิใจให้ผู้เรียนทุกคน นอกจากนี้ยังเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกด้วย เพราะใน ชั้นเรียนมีความร่วมมือ ผู้เรียนจะได้ฟัง เขียน อ่าน ทวนความ อธิบาย และปฏิสัมพันธ์ ผู้เรียน จะเรียนด้วยการลงมือกระทำ ผู้เรียนที่มีจุดบกพร่องจะได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่ม

ความมุ่งหมายของการสอน ความมุ่งหมายของการเรียนแบบทำงาน รับผิดชอบ ร่วมกัน คือ การให้สมาชิกทุกคนใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำงานกลุ่ม โดยยังคงรักษา สัมพันธภาพที่ดีต่อสมาชิกกลุ่ม ในการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิมนั้น จุดมุ่งหมายอยู่ที่การทำงานให้ สำเร็จเท่านั้น
ขั้นตอนการสอนมี 5 ชั้น ดังนี้

1. แนะนำ ด้วยการบอกว่าชั้นเรียนแบ่งเป็นกี่กลุ่ม กลุ่มละกี่คน สมาชิกแต่ละคน ต้องรับผิดชอบที่จะเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่กลุ่มได้รับให้ได้มากที่สุด แต่ละกลุ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญใน หัวข้อนั้น มีหน้าที่จะสอนกลุ่มอื่น ๆ ดัวย ทุกคนจะได้รับเกรดรายบุคคล และเป็นกลุ่ม

2. แบ่งกลุ่มให้คละกัน แล้วให้กลุ่มตั้งชื่อกลุ่ม เขียนชื่อกลุ่ม และสมาชิกบนป้าย นิเทศ ผู้สอนแจ้งกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติระหว่างการประชุมกลุ่ม

ก. ห้ามคนใดออกจากกลุ่มก่อนที่จะเสร็จงานกลุ่ม

ข. แต่ละคนในกลุ่มต้องรับผิดชอบที่จะให้สมาชิกทุกคนเข้าใจและทำงานให้ เสร็จสมบูรณ์

ค. ถ้าผู้เรียนคนใดไม่เข้าใจเรื่องใด ต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่ม ก่อนที่จะถามผู้สอน

3. สร้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้สอนแจกเอกสารหัวข้อต่าง ๆ ซึ่งภายในบรรจุด้วย เนื้อหา ถ้ามีกลุ่ม 6 กลุ่ม ผู้สอนต้องเตรียมเอกสาร 6 ชุด ผู้เรียนที่ได้รับหัวข้อเดียวกันจะศึกษา เรื่องนั้นด้วยกัน เมื่อทุกคนเข้าใจดีแล้ว ก็เตรียมตัววางแผนกการสอนเพื่อกลับไปสอนสมาชิกใน กลุ่มเดิมของตน

4. ผู้เชี่ยวชาญสอนเพื่อนในกลุ่ม ทุกคนจะผลัดกันสอนเรื่องที่ไปศึกษามา ตรวจสอบความเข้าใจ และช่วยเพื่อนสมาชิกในการเรียน

5. ประเมินผลและให้คะแนนแต่ละคน ผู้สอนทำการทดสอบเพื่อดูว่าต้องสอน เพิ่มเติมหรือไม่ให้เกรด และคิดคะแนนกลุ่ม

2. เทคนิคการสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method )

ความหมาย วิธีสอนแบบอุปนัย เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหา กฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้นักเรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบ แล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็น ข้อสรุป

ความมุ่งหมายและวิธีสอนแบบอุปนัย เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบกฎเกณฑ์ หรือความจริงที่สำคัญ ๆ ด้วยตนเองกับให้เข้าใจความหมายและความสัมพันธ์ของความคิด ต่าง ๆ อย่างแจ่มแจ้ง ตลอดจนกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักการทำการสอบสวนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง

ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัย

1. ขั้นเตรียม คือ การเตรียมตัวนักเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม กำหนด จุดมุ่งหมาย และอธิบายความมุ่งหมายให้นักเรียนได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

2. ขั้นสอนหรือขั้นแสดง คือ การเสนอตัวอย่างหรือกรณีต่าง ๆ ให้นักเรียนได้ พิจารณา เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบ สรุปกฎเกณฑ์ได้ การเสนอตัวอย่าง ควรเสนอ หลายๆ ตัวอย่างให้มากพอที่จะสรุปกฎเกณฑ์ได้ ไม่ควรเสนอเพียงตัวอย่างเดียว

3. ขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม เป็นขั้นหาองค์ประกอบรวม คือ การที่นักเรียน ได้มีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์ไม่ควร รีบร้อนหรือเร่งเร้าเด็กเกินไป

4. ขั้นสรุป คือ การนำข้อสังเกตต่าง ๆ จากตัวอย่างมาสรุปเป็นกฎเกณฑ์ นินาม หลักการ หรือสูตร ด้วยตัวนักเรียนเอง

5. ขั้นนำไปใช้ คือ ขั้นทดลองความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือ ข้อสรุปที่ได้มาแล้วว่าสามารถที่จะนำไปใช้ในปัญหาหรือแบบฝึกหัดอื่น ๆ ได้หรือไม่

ข้อดีและข้อจำกัด

ข้อดี

1. จะทำให้นักเรียนเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งและจำได้นาน

2. ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตามหลักตรรกศาสตร์ และหลักวิทยาศาสตร์

3. ให้นักเรียนเข้าใจวิธีการในการแก้ปัญหา และรู้จักวิธีทำงานที่ถูกต้องตามหลัก จิตวิทยา

ข้อจำกัด

1. ไม่เหมาะสมที่จะใช้สอนวิชาที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ

2. ใช้เวลามาก อาจทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย

3. ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นทางการเกินไป

4. ครูต้องเข้าใจในเทคนิควิธีสอนแบบนี้อย่างดี จึงจะได้ผลสัมฤทธิ์ในการสอน

3. เทคนิคการสอนแบบนิรนัย ( Deductive Method )

ความหมาย วิธีสอนแบบนี้ เป็นการสอนที่เริ่มจากฎ หรือ หลักการต่าง ๆ แล้วให้นักเรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน วิธีการสอนแบบนี้ฝึกหัดให้นักเรียนเป็นคนมี เหตุมีผล ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อน

ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบนิรนัย ให้นักเรียนรู้จักใช้กฎ สูตร และ หลักเกณฑ์ต่าง ๆ มาช่วยในการแก้ปัญหา ไม่ตัดสินใจในการทำงานอย่างง่าย ๆ จนกว่าจะพิสูจน์ ให้ทราบข้อเท็จจริงเสียก่อน

ขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัย

1. ขั้นอธิบายปัญหา ระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา เพื่อยั่วยุให้นักเรียนเกิด ความสนใจที่จะหาคำตอบ ( เช่น เราจะหาพื้นที่ของวงกลมอย่างไร ) ปัญหาจะต้องเกี่ยวข้อกับ สถานการณ์จริงของชีวิต และเหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็ก

2. ขั้นอธิบายข้อสรุป ได้แก่ การนำเอาข้อสรุปกฎหรือนิยามมากกว่า 1 อย่างมา อธิบาย เพื่อให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา

3. ขั้นตกลงใจ เป็นขั้นที่นักเรียนจะเลือกข้อสรุป กฎหรือนิยาม ที่จะนำมาใช้ใน การแก้ปัญหา

4. ขั้นพิสูจน์ หรืออาจเรียกว่าขั้นตรวจสอบ เป็นขั้นที่สรุปกฎ หรือ นิยามว่าเป็น ความจริงหรือไม่ โดยการปรึกษาครู ค้นคว้าจากตำราต่าง ๆ และจากการทดลองข้อสรุปที่ได้ พิสูจน์ว่าเป็นความจริงจึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง

ข้อดีและข้อจำกัด

ข้อดี

1. วิธีสอนแบบนี้เหมาะสมที่จะใช้สอนเนื้อหาวิชาง่าย ๆ หรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ จะสามารถอธิบายให้นักเรียนเข้าใจความหมายได้ดี และเป็นวิธีสอนที่ง่ายกว่าสอนแบบอุปนัย

2. ฝึกให้เป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง

ข้อจำกัด

1. วิธีสอนแบบนิรนัยที่จะใช้สอนได้เฉพาะบางเนื้อหา ไม่ส่งเสริมคุณค่าในการ แสวงหาความรู้และคุณค่าทางอารมณ์

2. เป็นการสอนที่นักเรียนไม่ได้เกิดความคิดรวบยอดด้วยตนเอง เพราะครู กำหนดความคิดรวบยอดให้

4. เทคนิคการสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming )

การระดมสมอง

ความหมาย หมายถึง วิธีสอนที่ใช้ในการอภิปรายโดยทันที ไม่มีใครกระตุ้น กลุ่มผู้เรียนเพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาสั้นโดย ในขณะนั้นจะไม่มีการตัดสินว่า คำตอบหรือทางเลือกใดดีหรือไม่อย่างไร

ลักษณะสำคัญ ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือก สำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วช่วยกันพิจารณาเลือกทางเลือก ที่ดีที่สุด ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งทาง

ขั้นตอนในการระดมสมอง

1. กำหนดปัญหา

2. แบ่งกลุ่มผู้เรียน และอาจเลือกประธานหรือเลขา เพื่อช่วยในการอภิปรายและ บันทึกผล

3. สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนด

ให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด โดยปัญหาของแต่ละกลุ่มอาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกันก็ได้

4. คัดเลือกเฉพาะทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ หรือเหมาะสมที่สุด

5. แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตน ( ข้อ 4 และ 5 อาจสลับกันได้ )

6. อภิปรายและสรุปผล

ข้อดีและข้อจำกัด

ข้อดี

1. ฝึกกระบวนการแก้ปัญหาและมีคุณค่ามากที่จะใช้เพื่อแก้ปัญหาหนึ่ง

2. ก่อให้เกิดแรงจูงใจในตัวผู้เรียนสูง และฝึกการยอมรับความเห็นที่แตกต่างกัน

3. ได้คำตอบหรือทางเลือกได้มาก ภายในเวลาอันสั้น

4. ส่งเสริมการร่วมมือกัน

5. ประหยัดค่าใช้จ่ายและการจัดหาสื่อเพิ่มเติมอื่น ๆ

ข้อจำกัด

1. ประเมินผลผู้เรียนแต่ละคนได้ยาก

2. อาจมีนักเรียนส่วนน้อยเพียงไม่กี่คนครอบครองการอภิปรายส่วนใหญ่

3. เสียงมักจะดังรบกวนห้องเรียนข้างเคียง

4. ถ้าผู้จดบันทึกทำงานได้ช้า การคิดอย่างอิสระก็จะช้าและจำกัดตามไปด้วย

5. หัวเรื่องต้องชัดเจน รัดกุม และมีประธานที่มีความสามารถในการดำเนินการ และสรุปการอภิปราย ทั้งในกลุ่มย่อย และรวมทั้งชั้น

5. วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ ( Practice )

วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ หมายถึง วิธีสอนที่ให้ประสบการณ์ตรงกับ ผู้เรียน โดยการให้ลงมือปฏิบัติจริง เป็นการสอนที่มุ่งให้เกิดการผสมผสานระหว่างทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติ

วิธีปฏิบัตให้ผู้เรียนได้ลงมือฝึกฝนหรือปฏิบัติจริง

ลักษณะสำคัญ การลงมือปฏิบัติมักดำเนินการภายหลังการสาธิต การทดลองหรือ การบรรยาย เป็นการฝึกฝนความรู้ความเข้าใจจากทฤษฎีที่เรียนมาโดยเน้นการฝึกทักษะ

ขั้นตอนการสอน

1. ขั้นเตรียม ผู้สอนกำหนดจุดมุ่งหมายของการฝึกปฏิบัติ รายละเอียดของขั้นตอน การทำงาน เตรียมสื่อต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือใบงานหรือคู่มือการปฏิบัติงาน

2. ขั้นดำเนินการ ผู้สอนให้ความรู้และทักษะที่เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ มอบหมาย งานที่ปฏิบัติเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล กำหนดหัวข้อการรายงาน หรือการบันทึกผลการปฏิบัติงานของ ผู้เรียน

3. ขั้นสรุป ผู้สอนและผู้เรียน ช่วยกันสรุปกิจกรรมการปฏิบัติงาน

4. ขั้นประเมินผล สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน เช่น ความสนใจ ความร่วมมือ

ความเป็นระเบียบ การประหยัด การใช้และการเก็บรักษาเครื่องมือ และการตรวจผลงาน เช่น คุณภาพของงาน ความริเริ่ม ความประณีตสวยงาม

ข้อควรคำนึง ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือจำนวนมาก และมีคุณภาพ

6. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ( Simulation )

วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง หมายถึง วิธีสอนที่จำลองสถานการณ์จริงมาไว้ใน ชั้นเรียน โดยพยายามทำให้เหมือจริงที่สุด มีการกำหนดกติกาหรือเงื่อนไข แล้วแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มให้ เข้าไปเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ๆ ด้วยกิจกรรมนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการเผชิญกับปัญหา จะต้องมีการตัดสินใจและใช้ไหวพริบ

วัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนได้เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับสถานการณ์จนเกิดความเข้าใจ

ลักษณะสำคัญ สถานการณ์ที่จำลองขึ้นต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริง ผู้เรียนได้เข้า ไปมีปฏิสัมพันธ์กับสถานการณ์ ทำการตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งการตัดสินใจจะส่งผลถึงผู้เรียนใน ลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง

ขั้นตอนการสอน

1. ขั้นเตรียม ผู้สอนจัดเตรียมสถานการณ์โดยกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนแล้ว เลือกรูปแบบและขั้นตอนที่เหมาะสม เขียนเนื้อหารายละเอียดและอุปกรณ์ที่ต้องใช้

2. ขั้นดำเนินการ ผู้สอนอธิบายบทบาทหรือกติกา วิธีการเล่น วิธีการให้คะแนนและ ทำการแบ่งกลุ่มผู้เรียน ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมที่กำหนด โดยมีผู้สอนให้คำแนะนำและดูแลการเล่น ผู้สอนทำการสังเกต จดบันทึก และให้คะแนนผู้เรียนเป็นรายบุคคล

3. ขั้นสรุป ผู้สอนจะช่วยสรุปด้วยการวิเคราะห์กระบวนการ เปรียบเทียบบทเรียนจา กดสถานการณ์จำลองกับโลกแห่งความเป็นจริง หรือเชื่อมโยงกิจกรรมที่ปฏิบัติไปแล้วกับเนื้อหาวิชาที่ เรียน

ข้อควรคำนึง

1. ถ้าผู้สอนขาดความรู้ในการสร้างสถานการณ์จำลอง อาจสร้างผิดไปจากจุดมุ่งหมายได้

2. สถานการณ์จำลองที่ยากเกินไปจะทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจ

3. เป็นการยากที่จะประเมินผู้เรียนแต่ละคน

7. วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method )

ความหมาย

หมายถึงวิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดย มีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การ กระทำ หรือการแสดง และอาจเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมบ้าง

ความมุ่งหมาย

1. เพื่อกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนมีความสนใจในบทเรียนยิ่งขึ้น

2. เพื่อช่วยในการอธิบายเนื้อหาที่ยาก ซึ่งต้องใช้เวลามาก ให้เข้าใจง่ายขึ้น และ ประหยัดเวลา บางเนื้อหาอาจจะอธิบายให้นักเรียนเข้าใจได้ยาก การสาธิตจะทำให้นักเรียนได้เห็น ขั้นตอนและเกิดความเข้าใจง่าย

3. เพื่อพัฒนาการฟังการสังเกตและการสรุปทำความเข้าใจในการสอน โดยใช้วิธี สาธิต นักเรียนจะฟังคำอธิบายควบคู่ไปด้วย และต้องสังเกตขั้นตอนต่าง ๆ ตลอดจนผลที่ได้จาก การสาธิตแล้วจึงสรุปผลของการสาธิต

4. เพื่อแสดงวิธีการหรือกลวิธีในการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วย คำพูด เช่น การทำกิจกรรมในวิชาคหกรรม ศิลป ฯลฯ

5. เพื่อสรุปประเมินผลความเข้าใจในบทเรียน

6. เพื่อใช้ทบทวนผลความเข้าใจในบทเรียน

ขั้นตอนในการสอน

1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการสาธิตให้ชัดเจน และต้องสาธิตให้เหมาะสมกับ เนื้อเรื่อง

2. เตรียมอุปกรณ์ในการสาธิตให้พร้อม และตรวจสอบความสมบูรณ์ของอุปกรณ์

3. เตรียมกระบวนการสาธิต เช่น กำหนดเวลาและขั้นตอน จะเริ่มต้นดำเนินการ และจบลงอย่างไร ผู้สาธิตต้องเข้าใจในขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง

4. ทดลองสาธิตก่อนสอน ควรทดลองสาธิตเพื่อตรวจสอบความพร้อมตลอดจน ผลที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในเวลาสอน

5. ต้องจัดทำคู่มือคำแนะนำหรือข้อสังเกตในการสาธิต เพื่อที่นักเรียนจะใช้ ประกอบในขณะที่มีการสาธิต

6. เมื่อสาธิตเสร็จสิ้นแล้ว นักเรียนควรได้ทำการสาธิตซ้ำอีก เพื่อเน้นให้เกิด ความเข้าใจดีขึ้น

7. จัดเตรียมกิจกรรมหลังจากการสาธิตเพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ ของการสาธิตนั้น ๆ

8. ประเมินผลการสาธิต โดยพิจารณาจากพฤติกรรมของนักเรียนและผลของการ เรียนรู้ การประเมินผลควรมีกิจกรรมหรือเครื่องมือ เช่น การทดสอบ การให้แสดงความคิดเห็น หรือการอภิปรายประกอบ

8. วิธีสอนแบบโครงการ ( Project Method )

ความหมาย

วิธีสอนแบบโครงการ เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่หรือรายบุคคลได้ วางโครงการและดำเนินงานให้สำเร็จตามโครงการนั้น นับว่าเป็นการสอนที่สอดคล้องกับสภาพ ชีวิตจริงเด็กจะทำงานนี้ด้วยการตั้งปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือทำจริง เช่น โครงการ รักษาความสะอาดของห้องเรียน

ความมุ่งหมาย

1. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกที่จะรับผิดชอบในการทำงานต่าง ๆ

2. เพื่อให้นักเรียนฝึกแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิด

3. เพื่อฝึกดำเนินงานตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้

ขั้นตอนในการสอน

1. ขั้นกำหนดความมุ่งหมาย เป็นขั้นกำหนดความหมายและลักษณะโครงการ โดยตัวนักเรียน ครูจะเป็นผู้ชี้แนะให้นักเรียนตั้งความมุ่งหมายของการเรียนว่าเราจะเรียนเพื่ออะไร

2. ขั้นวางแผนหรือวางโครงการ เป็นขั้นที่มีคุณค่าต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก คือ นักเรียนจะช่วยกันวางแผนว่าทำอย่างไรจึงจะบรรลุถึงจุดมุ่งหมาย จะใช้วิธีการใดในการทำ กิจกรรม แล้วจึงทำกิจกรรมที่เหมาะสม

3. ขั้นดำเนินการ เป็นขั้นลงมือกระทำกิจกรรมหรือลงมือแก้ปัญหา นักเรียนเริ่ม งานตามแผนโดยทำกิจกรรมตามที่ตกลงใจแล้ว ครูคอยส่งเสริมให้นักเรียนได้กระทำตามความมุ่ง หมายที่กำหนดไว้ ให้นักเรียนคิดและตัดสินใจด้วยตนเองให้มากที่สุดและควรชี้แนะให้นักเรียน รู้จักวัดผลการทำงานเป็นระยะ ๆ เพื่อการทำกิจกรรมจะได้ลุล่วงไปด้วยดี

4. ขั้นประเมินผล หรืออาจเรียกว่า ขั้นสอบสวนพิจารณานักเรียน ทำการ ประเมินผลว่ากิจกรรม หรือโครงการที่ทำนั้นบรรลุตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ หรือไม่มี ข้อบกพร่องอย่างไรและควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร

ข้อดีและข้อจำกัด

ข้อดี

1. นักเรียนมีความสนใจเพราะได้ลงมือปฏิบัติจริง ๆ

2. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานอย่างมีแผน และให้รู้จัก ประเมินผลงานของตนเอง

9. เทคนิคการอภิปรายแบบอ่างปลา

ความหมาย

เทคนิคการอภิปรายแบบอ่างปลา เป็นการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม นั่ง เป็นวงกลม 2 วงซ้อน กลุ่มวงในจะมีจำนวน 5 – 10 คน จะไม่มากนัก กลุ่มวงนอกจะมีจำนวน มากกว่ากลุ่มวงใน หรือบางครั้งอาจเท่ากันหรือน้อยกว่าก็ได้

จากภาพข้างบนจะเห็นว่ามีกลุ่มวงในและกลุ่มวงนอก

กลุ่มใน จะนั่งเป็นวงกลม คนในกลุ่มประมาณ 5 – 10 คน กลุ่มนี้จะได้รับมอบหมายงานจาก ผู้สอนให้ทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง

กลุ่มนอก จะนั่งล้อมรอบกลุ่มวงใน ในระยะที่ไม่ห่างมากนัก (ดังภาพ) สมาชิกกลุ่มนี้มีหน้าที่ เป็นผู้คอยรับฟัง ข้อมูลที่กลุ่มวงในอภิปรายกัน หรือเป็นผู้ที่คอยสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มใน เมื่อ การอภิปรายยุติลง กลุ่มนี้จะเป็นผู้ให้ข้อคิดเห็นหรือข้อวิเคราะห์กลุ่มในว่า จากการสังเกตได้เห็น/ ฟัง/พบ อะไรบ้าง

หมายเหตุ ทั้งกลุ่มนอกและกลุ่มในอาจจะสลับบทบาทกันคนละรอบก็ได้ เพื่อว่าผู้เรียนจะได้ เรียนรู้เท่า ๆ กัน

ขั้นตอนการสอน

1. ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นสองกลุ่ม ให้จัดที่นั่งเป็นวงกลม 2 วงซ้อนกันและ ผู้สอนมอบหัวข้อเรื่องให้กลุ่มอภิปราย

2. กลุ่มในจะดำเนินการประชุม โดยจะเลือกผู้นำกลุ่ม และเลขากลุ่ม ส่วนกลุ่ม นอกจะสังเกตการณ์ และเก็บข้อมูลไว้

3. ระหว่างการอภิปรายกลุ่ม ผู้สอนจะต้องให้คำแนะนำและช่วยเหลือเมื่อกลุ่ม ต้องการ

4. เมื่อกลุ่มในได้อภิปรายเรื่องที่ผู้สอนมอบหมายให้เสร็จแล้ว ผู้สอนให้ตัวแทน มารายงานสรุปผลการอภิปราย

5. หลังจากนั้นกลุ่มนอกซึ่งสังเกตการณ์อยู่จะรายงานผลการสังเกตและการทำงาน ของกลุ่ม

6. ผู้สอนถามความคิดเห็นของผู้เรียนทั้งกลุ่มในและกลุ่มนอกพร้อมทั้งวิเคราะห์ เพิ่มเติม สรุป

10. วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง

ความหมาย ( ทิศนา แขมมณี 2534 : 75 – 76 )

วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนฝึกฝนการเผชิญและ แก้ปัญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และเรียนรู้ ความคิดขอผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น

ขั้นตอนสำคัญของการสอน

1. ผู้สอน / ผู้เรียนนำเสนอกรณีตัวอย่าง

2. ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่าง

3. ผู้เรียนอภิปรายประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ

4. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายคำตอบ

5. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหา วิธีแก้ปัญหาของผู้เรียน และสรุปการ เรียนรู้ที่ได้รับ

เทคนิคและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างให้มีประสิทธิภาพ

การเตรียมการ

ก่อนการสอน ผู้สอนต้องเตรียมกรณีตัวอย่างให้พร้อม ต้องมีสาระซึ่งจะช่วยทำให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีลักษณะใกล้เคียงกับความเป็นจริง กรณีที่นำมาใช้ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องที่มี สถานการณ์ปัญหาขัดแย้ง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความคิดของผู้เรียน หากไม่มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ขัดแย้ง ผู้สอนอาจใช้วิธีการตั้งประเด็นคำถามที่ท้าทายให้ผู้เรียนคิดก็ได้ ผู้สอนอาจนำเรื่องจริงมาเขียน

เป็นกรณีตัวอย่าง หรืออาจใช้เรื่องจากหนังสือพิมพ์ ข่าว และเหตุการณ์ รวมทั้งจากสื่อต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ เป็นได้กรณีที่ต้องการแล้ว ผู้สอนจะต้องเตรียมประเด็นคำถามสำหรับการ อภิปรายเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ต้องการ

การนำเสนอกรณีตัวอย่าง

ผู้สอนอาจเป็นผู้นำเสนอกรณีตัวอย่าง หรืออาจใช้เรื่องจริงจากผู้เรียนเป็นกรณี ตัวอย่างก็ได้ วิธีการนำเสนอทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์เป็นข้อมูลมาให้ผู้เรียนอ่าน การเล่ากรณี ตัวอย่างให้ฟัง หรือนำเสนอโดยใช้สื่อ เล่น สไลด์ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ หรืออาจให้ผู้เรียนแสดงเป็น ละครหรือบทบาทสมมติก็ได้

การศึกษากรณีตัวอย่างและการอภิปราย

ผู้สอนควรแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยและให้เวลาอย่างเพียงพอในการศึกษากรณี ตัวอย่างและคิดหาคำตอบ แล้วจึงร่วมกันอภิปรายเป็นกลุ่มและนำเสนอผลการอภิปรายระหว่างกลุ่ม เป็นการแลกเปลี่ยนกัน ผู้สอนพึงตระหนักว่าการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง มิได้มุ่งที่คำตอบใด คำตอบหนึ่ง ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างชัดเจนแน่นอน แต่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นคำตอบและ เหตุผลที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดที่กว้างขึ้น มองปัญหาในแง่มุมที่หลากหลายขึ้น อันจะช่วยให้การตัดสินใจมีความรอบคอบขึ้น ด้วยเหตุนี้ การอภิปรายจึงควรมุ่งความสนใจไปที ่ เหตุผลหรือที่มาของความคิดที่ผู้เรียนใช้ในการแก้ปัญหาเป็นสำคัญ

ข้อดีและข้อจำกัด

ข้อดี

1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง

2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมี วิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น

3. เป็นวิธีสอนที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และส่งเสริมการเรียนรู้จาก กันและกัน

ข้อจำกัด

หากกลุ่มผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน การเรียนรู้อาจไม่กว้าง เท่าที่ควร เพราะผู้เรียนมักมีมุมมองคล้ายกัน

11. วิธีสอนโดยใช้เกม

ความหมาย ( ทิศนา แขมมณี 2543 : 81 – 85 )

วิธีสอนโดยใช้เกม เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ อย่าง สนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง เป็น วิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง

ขั้นตอนสำคัญของการสอน

1. ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น

2. ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา

3. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการเล่นหรือพฤติกรรม การเล่นของผู้เรียน

เทคนิคและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้เกมให้มีประสิทธิภาพ

การเลือกและการนำเสนอเกม

เกมที่นำมาใช้ในการสอนส่วนใหญ่จะเป็นเกมที่เรียกว่า “ เกมการศึกษา ” คือเป็น เกมที่มีวัตถุประสงค์ มุ่งให้ผู้เล่นเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มิใช่เพื่อความบันเทิงเป็นสำคัญ มาใช้ในการสอน โดยนำมาเพิ่มขั้นตอนสำคัญคือการวิเคราะห์อภิปรายเพื่อการเรียนรู้ได้

การเลือกเกมเพื่อนำมาใช้สอนทำได้หลายวิธี ผู้สอนอาจเป็นผู้สร้างเกมขึ้นให้ เหมาะกับวัตถุประสงค์ของการสอนของตนก็ได้ หรืออาจนำเกมที่มีผู้สร้างขึ้นแล้วมาปรับคัดแปลง ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ตรงกับความต้องการของตน แล้วนำไปใช้สอนเลยก็ได้ หากผู้สอน ต้องการสร้างเกมขึ้นใช้เอง ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีสร้างและจะต้อง ทดลองใช้เกมที่สร้างหลาย ๆ ครั้ง จนกระทั่งแน่ใจว่าสามารถใช้ได้ผลดีตามวัตถุประสงค์ หาก เป็นการคัดแปลง ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาเกมนั้นให้เข้าใจ แล้วจึงคัดแปลงและทดลองใช้ก่อน เช่นกัน สำหรับการนำเกมการศึกษามาใช้เลยนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาเกมนั้นให้เข้าใจและลอง เล่นเกมนั้นก่อน เพื่อจะได้เห็นประเด็นและข้อขัดข้องต่าง ๆ

การชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น

เกมแต่ละเกมมีวิธีการเล่นและกติกาการเล่นที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากน้อย แตกต่างกัน แต่ถ้าเกมนั้นมีความซับซ้อนมาก ผู้สอนควรจัดลำดับขั้นตอนและให้รายละเอียดที่ ชัดเจนโดยอาจต้องใช้สื่อเข้าช่วย และอาจให้ผู้เรียนซ้อมเล่นก่อนการเล่นจริง

การเล่นเกม

ก่อนการเล่น ผู้สอนควรจัดสถานที่ของการเล่นให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อการเล่น อาจจะทำให้การเล่นเป็นไปอย่างติดขัด และเสียเวลา เสียอารมณ์ของผู้เล่นด้วย การเล่นควร เป็นไปตามลำดับขั้นตอน และในบางกรณีต้องควบคุมเวลาในการเล่นด้วย ในขณะที่ผู้เรียนกำลัง เล่นเกม ผู้สอนควรติดตามสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด และควรบันทึกข้อมูล ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ เพื่อนำไปใช้ในการอภิปรายหลังการเล่น

การอภิปรายหลังการเล่น

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญมาก หากขาดขั้นตอนนี้ การเล่นเกมก็คงไม่ใช่วิธีสอน เป็นเพียงการเล่นเกมธรรมดา ๆ จุดเน้นของเกมอยู่ที่การเรียนรู้ยุทธวิธีต่าง ๆ ที่จะเอาชนะอุปสรรค

เพื่อจะไปให้ถึงเป้าหมาย ผู้สอนจำเป็นต้องเข้าใจว่า จุดเน้นของการใช้เกมในการสอนนั้น ก็ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

การอภิปราย จึงควรมุ่งประเด็นไปตามวัตถุประสงค์ของการสอน ถ้าการใช้เกม นั้นมุ่งเพียงเป็นเครื่องมือฝึกทักษะให้ผู้เรียน การอภิปรายก็ควรมุ่งไปที่ทักษะนั้น ๆ แต่ถ้ามุ่งเนื้อหา สาระจากเกม ก็ควรอภิปรายในประเด็นที่ว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระอะไรจากเกมบ้าง รู้ได้ อย่างไร ด้วยวิธีใด มีความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างไร ถ้ามุ่งการเรียนรู้ความเป็นจริงของ สถานการณ์ ก็ควรอภิปรายในประเด็นที่ว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้ความจริงอะไรบ้าง การเรียนรู้นั้น ได้มาจากไหน และอย่างไร ผู้เรียนได้ตัดสินใจอะไรบ้าง ทำไม่จึงตัดสินใจเช่นนั้น

ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้เกม

ข้อดี

1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมาย และอยู่คงทน

2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง ผู้เรียนได้รับความ สนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้จากการเล่น

3. เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนไม่เหนื่อยแรงมากขณะสอนและผู้เรียนชอบ

ข้อจำกัด

1. เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก

2. เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการมาก

3. เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่าย

12. การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )

แผนที่ความคิดคืออะไร

แผนที่ความคิด ( Mind Map ) เป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิด ประโยชน์อย่างสูงสุด การเขียนแผนที่ความคิดเกิดจากการใช้ทักษะทั้งหมดของสมอง หรือเป็น การทำงานร่วมกันของสมองทั้ง 2 ซึก คือ สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา

สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำภาษา สัญลักษณ์ ระบบ ลำดับความ เป็นเหตุเป็นผล ตรรกวิทยาฯ

สมองซีกขวา ทำหน้าที่สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความงาม ศิลปะ จังหวะ โดยมีเส้นประสาทส่วนหนึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงสมองทั้งซีกซ้ายและขวา ให้ทำงาน ประสานกัน

วิธีการเขียนแผนที่ความคิด

แผนที่ความคิด ( Mind Map ) พัฒนาจากการจดบันทึกแบบเดิม ๆ ที่บันทึกเป็น ตัวอักษร เป็นบรรทัด เป็นแถว โดยดินสอหรือปากกา มาเป็นการบันทึกเป็นคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่เป็นรัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ โดยใช้สีสันให้น่าสนใจ

แผนที่ความคิด ( Mind Map ) ใช้ได้กับอะไรบ้าง

แผนที่ความคิด ( Mind Map ) นำไปใช้กับกิจกรรในชีวิตส่วนตัว และกิจกรรม ในการปฏิบัติงานทุกแขนงวิชา และอาชีพ เช่น ใช้ในการวางแผน การช่วยจำ การตัดสินใจ การ แก้ปัญหา การนำเสนอ ฯลฯ

การเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )

การเรียนรู้วิชาต่าง ๆ ใช้แผนที่ความคิดช่วยในการศึกษาเล่าเรียนทุกวิชาได้เด็ก เล็กจะเขียนแผนที่ความคิดได้ตามวัยของตน ส่วนในชั้นที่โตขึ้นความละเอียดซับซ้อนจะมากขึ้น ตามเนื้อหา และวัยของตน แต่ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นใด แผนที่ความคิดก็ช่วยให้เกิดความคิดได้ กว้างขวาง หลากหลาย ช่วยความจำ ช่วยให้งานต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ ความคิดต่าง ๆ ไม่ขาด หายไป

จากสารปฏิรูป โรงเรียนราชวินิตประถม ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2545

การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ผศ.ดร.ชนาธิป พรกุล

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นับตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม 2542

เป็นต้นมา ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในการปฏิรูปการศึกษา เพราะเป็นสภาพบังคับของกฎหมาย ที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเร่งพัฒนาคุณภาพของตน ให้เป็นผู้นำในการดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ ของครู ส่วนครูต้องมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางที่เน้นผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ได้มีความคิดสร้างสรรค์ มี ทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันจึงเกิดคำถามขึ้นว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคืออะไร มีหลักการอย่างไร จะปฏิบัติ อย่างไร ครูและผู้เรียนมีบทบาทอย่างไร รู้ได้อย่างไรว่าที่ทำอยู่ถูกหรือไม่ และวิธีประเมินผล แบบเดิมจะยังคงใช้ได้อยู่ หรือไม่ คำถามเหล่านี้ล้วนแต่ชวนให้ครูแสวงหาคำตอบ เพื่อให้ได้ แนวทางที่ชัดเจน สำหรับนำมาจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมายของการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง ผู้เรียนเป็นคนสำคัญที่สุด ในการจัดการเรียนการ สอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ โดยการให้ผู้เรียนมีส่วน ร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด

กิจกรรมการเรียนรู้ คือ งานที่ผู้เรียนทำแล้วเกิดการเรียนรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยแสดงเป็นพฤติกรรมที่ครูกำหนดไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรมี ความหลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ทุกด้าน

ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ได้ 4 ด้าน ดังนี้

1. ด้านร่างกาย คือ การที่ผู้เรียนใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำกิจกรรม ผู้เรียนได้ เคลื่อนไหวร่างกาย ประสาทการรับรู้ตื่นตัว ทำให้รับข้อมูลได้ดี

2. ด้านสติปัญญา คือ การที่ผู้เรียนใช้สมอง หรือกระบวนการคิดในการทำกิจกรรม

3. ด้านสังคม คือ การที่ผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นขณะทำกิจกรรม ทำให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทักษะทางสังคม

4. ด้านอารมณ์ คือ การที่ผู้เรียนรู้สึกต้องการ และยินดีทำกิจกรรมเพื่อแสวงหา ความรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง การมีส่วนร่วมด้านอารมณ์มักจะดำเนินควบคู่ไปกับกิจกรรมการ เรียนรู้ด้านร่างกาย สติปัญญา และสังคม

แนวคิดของการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดตามแนวทฤษฎีพุทธินิยม

( Cognitive theories ) ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในสมอง เกิดจากกระบวนการกระทำกับ ข้อมูล มีการบันทึกข้อมูล และดึงข้อมูลออกมาใช้ วิธีเรียนรู้มีผลต่อการจำ การลืม และการถ่ายโอน

( Transfer ) ความรู้ แรงจูงใจระหว่างการเรียนรู้มีความสำคัญต่อการชี้นำความสนใจ มีอิทธิพลต่อ กระบวนการจัดข้อมูล และส่งผล โดยตรงต่อรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน

ปัจจุบันแนวคิดการสรรค์สร้างความรู้ ( Constructivism) ได้รับการยอมรับอย่าง แพร่หลายว่ามีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แนวคิดนี้มี ความเชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยตนเอง สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้งอกงามขึ้น ได้เรื่อย ๆ โดยอาศัยการพัฒนาโครงสร้างความรู้ภายในบุคคล และการรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว โครงสร้างของความรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1. ความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่

2. ความรู้ใหม่ ที่ผู้เรียนได้รับเป็นข้อมูล ความรู้ ความรู้สึก และประสบการณ์

3. กระบวนการทางสติปัญญา ซึ่งเป็นกระบวนการทางสมองที่ผู้เรียนใช้ทำความเข้าใจ

กับความรู้ใหม่ และใช้เชื่อมโยงปรับความรู้เดิมและความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน

ดังนั้นครูที่จัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจึงมีความเชื่อว่า ผู้เรียนทุก คนมีความสามารถในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ ผู้สอนไม่จำเป็นต้องบอกความรู้เนื้อหาสาระ อีกต่อไป

หลักการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา ( CIPPA Model )

หลักการจัดการเรียนการสอนโมเดลซิปปา เป็นหลักที่นำมาใช้จัดการเรียนการสอน แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เสนอแนวคิดโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี อาจารย์ประจำภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจุดเน้นที่การจัดกิจกรรมการเรียน การสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ หลักการจัดของโมเดล ซิปปา มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่

C มาจากคำว่า Construct หมายถึง การสร้างความรู้ ตามแนวคิด การสรรค์สร้าง ความรู้ได้แก่ กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้ผู้เรียนเข้าใจและเกิด การเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเองกิจกรรมนี้ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา

I มาจากคำว่า Interaction หมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อม รอบตัว ได้แก่ กิจกรรมที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล เช่น ครู เพื่อน ผู้รู้ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งความรู้ และสื่อประเภทต่าง ๆ กิจกรรมนี้ ช่วยให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม

P มาจากคำว่า Physical Participation หมายถึง การมีส่วนร่วมทางกาย ได้แก่ กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่าง ๆ

P มาจากคำว่า Process Learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ที่เป็น ทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนทำเป็นขั้นตอนจนเกิดการเรียนรู้ ทั้ง เนื้อหาและกระบวนการ กระบวนการที่นำมาจัดกิจกรรม เช่น กระบวนการคิด กระบวนการ แก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแสวงหาความรู้ เป็นต้น กิจกรรมนี้ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วน ร่วมทางสติปัญญา

A มาจากคำว่า Application หมายถึง การนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์ต่าง ๆ ได้แก่ กิจกรรมที่ให้โอกาสผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติที่ เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมนี้ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้หลายอย่าง แล้วแต่ลักษณะของกิจกรรม

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักโมเดลซิปปา

โมเดลซิปปามีองค์ประกอบสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญ 5 ประการ ครู สามารถเลือกรูปแบบ วิธีสอน กิจกรรมใดก็ได้ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบ ทั้ง 5 อีกทั้งการจัดกิจกรรมก็สามารถจัดลำดับองค์ประกอบใดก่อนหลังได้เช่นกัน และเพื่อให้ครูที่ ต้องการนำหลักการของโมเดลซิปปาไปใช้ได้สะดวกขึ้น รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี จึงจัด ขั้นตอนการสอนเป็น 7 ขั้น ดังนี้

1. ขั้นทบทวนความรู้เดิม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ กับความรู้เดิมของตน

กิจกรรมในขั้นนี้ ได้แก่ การสนทนาซักถามให้ผู้เรียนบอกสิ่งที่เคยเรียนรู้ การให้ ผู้เรียนเล่าประสบการณ์เดิม หรือการให้ผู้เรียนแสดงโครงสร้างความรู้ ( Graphic Organizer ) เดิมของ ตน

2. ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ

3. ขั้นศึกษาทำความเข้าใจความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เพื่อให้ ผู้เรียนสร้างความหมายของข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่ สรุปความเข้าใจแล้วเชื่อมโยงกับความรู้เดิม

กิจกรรมในขั้นนี้ ได้แก่ การให้ผู้เรียนใช้กระบวนการต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่มหรือกระบวนการแก้ปัญหา สร้างความรู้ขึ้นมา

4. ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม เพื่ออาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการ ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ และขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น

กิจกรรมนี้ ได้แก่ การให้ผู้เรียนแต่ละคนแบ่งปันความรู้ความเข้าใจให้ผู้อื่นรับรู้และ ให้กลุ่มช่วยกันตรวจสอบความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

5. ขั้นสรุปและจัดระเบียบความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย

กิจกรรมนี้ ได้แก่ การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย มโนทัศน์หลัก และมโนทัศน์ย่อย ของความรู้ทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่แล้วนำมารวบรวมเรียบเรียงให้ได้ ใจความสาระสำคัญครบถ้วน สะดวกแก่การจดจำ ครูอาจให้ผู้เรียนจัดเป็นโครงสร้างความรู้ ( Graphic Organizer ) ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยในการจดจำข้อมูลได้ง่าย

6. ขั้นแสดงผลงาน เพื่อให้โอกาสผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตนด้วย การได้รับข้อมูลย้อนกลับจากผู้อื่น

กิจกรรมนี้ ได้แก่ การให้ผู้เรียนแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนด้วยวิธีการ ต่าง ๆ เช่น จัดนิทรรศการ จัดการอภิปราย แสดงบทบาทสมมติ เขียนเรียงความ วาดภาพ แต่งคำ ประพันธ์ เป็นต้น และอาจมีการจัดประเมินผลงานโดยใช้เกณฑ์ที่เหมาะสม

7. ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจ และความชำนาญ

กิจกรรมนี้ ได้แก่ การที่ครูให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงวิธีใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ใน เรื่องต่าง ๆ ซึ่งเท่ากับส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ในระยะแรกครูอาจตั้งโจทย์สถานการณ์ ต่าง ๆ แล้วให้ผู้เรียนนำความรู้ที่มีมาใช้ในสถานการณ์นั้น

บทบาทของครูและผู้เรียน

เมื่อการจัดการเรียนการสอนให้ความสำคัญกับผู้เรียน บทบาทหน้าที่ของครูและผู้เรียน จึงเปลี่ยนไป ดังนี้
  1. ครูมีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้เรียนโดย
ก่อนสอน ทำการวางแผน เตรียมการ เลือกกิจกรรมการเรียนรู้

ขณะสอน ทำหน้าที่ผู้อำนวยความสะดวก ( Facilitator ) จัดการ แนะนำ สังเกต

ช่วยเหลือ เสริมแรง และให้ข้อมูลย้อนกลับ

หลังสอน ทำหน้าที่ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อใช้ในการวางแผน

การสอนต่อไป หรือตัดสินคุณภาพของผู้เรียน
  1. ผู้เรียนมีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง โดยเลือกสิ่งที่ต้องการเรียนวางแผน
การเรียน เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียน ศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเอง และประเมินผลการเรียนรู้ของตน

การประเมินผลตามสภาพจริง

การประเมินผลเป็นกระบวนการสำคัญที่มีส่วนเสริมสร้างความสำเร็จให้กับผู้เรียนและ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน การสอนและการประเมินผลจำเป็นต้องมีลักษณะ สอดคล้องกัน และดำเนินควบคู่กันไป ดังนั้นเมื่อการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีลักษณะ เป็นการเรียนรู้ที่แท้จริง ( Authentic learning ) จึงต้องทำการประเมินผลตามสภาพจริง ( Authentic assessment )

การประเมินตามสภาพจริง มีความหมายดังนี้

1. เป็นวิธีการที่สามารถค้นหาความสามารถและความก้าวหน้าในการเรียนรู้ที่แท้จริงของ ผู้เรียน ข้อมูลที่ได้สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

2. เป็นการประเมินเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในด้านความรู้ ความคิด พฤติกรรม วิธีการ ปฏิบัติ ผลการปฏิบัติ และเจตคติของผู้เรียน

ในการประเมินผลครูต้องนำสิ่งที่ต้องการประเมินมาผสมผสานแล้วเลือกวิธีประเมินให้ เหมาะสม ไม่มีวิธีประเมินผลวิธีเดียวที่สามารถประเมินผู้เรียนได้ทุกด้าน วิธีประเมินผลสามารถแบ่งได้ 4 วิธี ดังนี้

1. การใช้แบบทดสอบแบบคำตอบมีตัวเลือก ( Selected response ) แบบทดสอบนี้ มี ลักษณะเป็นคำถามที่มีหลายคำตอบ ให้ผู้เรียนเลือกคำตอบที่ดีที่สุด ตัวบ่งชี้ผลสัมฤทธิ์ คือ จำนวนหรือ อัตราส่วนของคำถามและคำตอบที่ถูกต้อง

2. การใช้แบบทดสอบแบบอัตนัย ( Essay ) แบบทดสอบอาจเป็นคำถาม การให้อธิบาย ถึงการแก้ปัญหา การเปรียบเทียบเหตุการณ์หรือการตีความข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะต้องรวบรวม ข้อมูลแล้วเขียนเป็นคำตอบที่แสดงมโนทัศน์ของเรื่องนั้น ตัวบ่งชี้ผลสัมฤทธิ์ คือ จำนวนคะแนนที่ได้รับ จากคะแนนเต็ม

3. การแสดงพฤติกรรม ( Performance ) ผู้เรียนทำกิจกรรมที่กำหนด โดยมีครูคอย สังเกตกระบวนการการใช้ทักษะต่าง ๆ หรือประเมินจากผลผลิตซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้เรียน มีทักษะ ในการผลิตอย่างมีคุณภาพ เช่น รายงาน นิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ หรืองานประดิษฐ์ ตัวบ่งชี้ ผลสัมฤทธิ์ คือ การจัดระดับ ( Rating ) คุณภาพของพฤติกรรมหรือผลผลิต

4. การสื่อความหมายระหว่างครู และผู้เรียน ( Personal Communication ) ครูอาจใช้ วิธีถามคำถามระหว่างสอน สัมภาษณ์ สนทนา ประชุม ฟังการอภิปรายของผู้เรียน หรือสอบปาก เปล่า

ผลของการประเมินจะเกิดประโยชน์เมื่อการประเมินผลมีคุณภาพสูง คุณภาพ หมายถึงสิ่งต่อไปนี้
  1. สิ่งที่ประเมินชัดเจน
  2. วิธีการเหมาะสม
  3. การเป็นตัวแทนและอ้างอิงได้
  4. มีความเที่ยงตรงปราศจากอคติและการบิดเบือน
ตัวบ่งชี้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

เมื่อครูจัดการเรียนการสอนและประเมินผลแล้ว และมีความประสงค์จะตรวจสอบว่า ได้ดำเนินการมาถูกต้องตามหลักการจัดการเรียนการสอนแบบศูนย์กลางหรือไม่ ครูสามารถตรวจสอบ ด้วยตนเอง โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งมีตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้

1. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน

2. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนฝึกค้นคว้า สังเกตรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์คิดอย่างหลากหลาย สร้างสรรค์และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

3. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้และแสวง

หาคำตอบด้วยตนเอง

4. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและสื่อที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการ จัดการเรียนการสอน

5. มีการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกและส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เรียน

6. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสุนทรียภาพอย่าง ครบถ้วนทั้งด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา

7. ส่งเสริมความรู้เป็นประชาธิปไตยในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีความรับผิดชอบ ต่อกลุ่ม

8. มีการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง

9. ผู้เรียนรักโรงเรียนของตนและมีความกระตือรือร้นในการไปโรงเรียน

สรุปว่าการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ การจัดการให้ผู้เรียน สร้างความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติเกิด ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวันและมีคุณสมบัติตรงกับเป้าหมาย ของการจัดการศึกษาที่ต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขกาย และใจ

การวัดผลโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การวัดผลและการประเมินผล

การวัดและการประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอน ด้วยเหตุผล ที่ว่าการวัดและการประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียน ตลอดจน ใช้เป็นวิธีการในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่า ได้ดำเนินการสอนให้เป็นไปตาม เป้าหมาย หรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการวัดและประเมินผลได้เป็นอย่างดี

ความหมายการวัดและประเมินผล ( Measurement And Evaluation )

การวัด ( Measurement ) หมายถึง กระบวนการเชิงปริมาณในการกำหนดค่า เป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะของสิ่งที่วัด โดยอาศัยกฏเกณฑ์อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น เด็กหญิงสมพร สอบวิชาภาษาไทยได้ 30 คะแนน

การประเมินผล ( Evaluation ) หมายถึง การตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่า ของวัตถุ สิ่งของ โครงการการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของคนงาน หรือความรู้ความสามารถ ของนักเรียน

ลักษณะการวัดและการประเมินผลทางการศึกษา สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ ดังนี้ การประเมินผลทางการศึกษา หมายถึง กระบวนการอย่างมีระบบที่จะตรวจสอบดูว่าผู้เรียน ได้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่ส่งไว้หรือไม่ การประเมินผลเป็นการตีค่าของสิ่งที่วัด การสร้างข้อสอบ ตรวจให้คะแนน เป็น การวัด แต่การบอกว่าผู้เรียนคนใดเก่งหรืออ่อนปานใด หรือได้เกรดอะไร เป็น การประเมินผล

ความแตกต่างระหว่างการวัดและการประเมินผล สามารถอธิบายได้ดังนี้

􀂠 การนำสายวัดไปวัดผ้าผืนหนึ่งได้ 5 เมตร การกระทำการเช่นนี้เรียกว่า การวัด แต่ถ้าบอกว่าผ้าผืนนี้ยาวไม่พอที่จะนำมาคลุมรถบรรทุกสินค้า การบอกเช่นนี้เรียกว่า การ ประเมินผล

จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผล

1. เพื่อจัดประเภทหรือจัดตำแหน่ง ( Placement ) เป็นการวัดและการประเมินผล โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อจัด หรือแบ่งประเภทผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความสามารถอยู่ในระดับใด ของกลุ่ม เช่น เก่ง ปานกลาง หรืออ่อน เช่น การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษเพื่อจุดกลุ่มในการ เรียน

2. เพื่อวินิจฉัย ( Diagnosis ) มันใช้ใส่ทางการแพทย์ โดยเมื่อแพทย์ตรวจแล้ว จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร หรือสาเหตุที่ผู้ป่วยมีอาการไม่สบายมาจากอะไร

3. เพื่อเปรียบเทียบ ( Assessment ) ใช้ในการเปรียบเทียบพัฒนาการของผู้เรียนว่า มีมากน้อยอย่างไร เช่น การสอบก่อนเรียน และหลังเรียน ( Pretest – Posttest )

4. เพื่อพยากรณ์ ( Perdiction ) เป็นการวัดความถนัดหรือจำแนกความแตกต่าง ของผู้เรียนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยพยากรณ์ หรือคาดการณ์และแนะนำผู้เรียนว่าควรจะเรียน อย่างไร

5. เพื่อเป็นข้อมูลป้อนย้อนกลับ ( Feedback ) เป็นการทดสอบว่าเรื่องใดที่ผู้เรียน เรียนไปแล้วเข้าใจชัดเจน และเรื่องใดที่ยังไม่เข้าใจจะได้ทำการสอนเพิ่มเติมหรือย้ำได้

6. การเรียนรู้ ( Learning Experience ) วัดเพื่อกระตุ้นในรูปแบบต่าง ๆ ให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่ดี ของผู้เรียน

ประโยชน์ของการวัดปละการประเมิน ประโยชน์ต่อผู้สอน
ประโยชน์ต่อผู้เรียน
􀁻 ทราบพัฒนาการหรือปริมาณความงอกงาม ของ

ผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสังคม และ

สติปัญญา เป็นต้น

􀁻 ช่วยในการคิดเลือกเทคนิควิธีการสอน และ

ประสบการณ์ ตลอดจนกิจกรรมที่ เหมาะสม

กับผู้เรียน

􀁻 ช่วยในการจัดตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อปกครอง

นักเรียนให้มีคุณภาพ เช่น การจัดชั้นเรียน

การเลื่อนชั้น การจัดกลุ่มผู้เรียน
􀁻 ช่วยในการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการ

เรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

􀁻 ช่วยให้ผู้เรียนทราบถึงความสามารถของ ตนเอง

ว่ามีความสามารถอย่างไร และควร ปรับปรุง

อย่างไรบ้าง

􀁻 ช่วยให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและทราบถึง จุดประสงค์

ของการศึกษาเนื้อหานั้น ๆ มากยิ่งขึ้น

􀁻 ช่วยให้ผู้เรียนสร้างกระบวนการเรียนได้ ถูกต้อง

และได้รู้จักภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น
รศ.สุพิน บุญชูวงศ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต





วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทนำซันเดย์ติวเตอร์

ซันเดย์ติวเตอร์ เป็นศูนย์กลางการบริการทางการศึกษา ซึ่งให้บริการในการจัดสรรค์ติวเตอร์ ให้แก่กลุ่มผู้เรียน เพื่อรองรับความต้องการทางด้านการเรียนพิเศษ เรียนเสริม เรียนคู่ขนานกับสถาบันการศึกษาหลัก โดยมุ่งเป้าประสงค์ในการแข่งขันทางวิชาการ สอบเข้า สอบเลื่อนระดับ หรือกระทั่งการเรียนเพื่อมุ่งเน้นความรู้ความเข้าใจ เป็นพื้นฐาน

                ซันเดย์ติวเตอรนับว่าเป็นชุมนุม ชุมชน ของกลุ่มผู้มีความรู้ที่เฉพาะทาง เฉพาะด้าน เฉพาะความถนัด.. จากหลากหลายสถาบันการศึกษา หลากหลายสาขาวิชาการ ทั้งสถาบันของภาครัฐ และของภาคเอกชน.. ที่มีเป้าประสงค์อันตรงกัน คือต้องการเห็นการศึกษาของไทย การศึกษาของเด็กไทย มีระดับคุณภาพที่สูงขึ้น โดยผ่านกระบวนถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ จากความถนัดที่เฉพาะด้านของเหล่าติวเตอร์ ที่มีใจรักในการสอนพิเศษ

                ต้องยอมรับว่า ในปัจจุบัน การศึกษา หรือแม้กระทั่งการแข่งขันทางธุรกิจการศึกษา มีความเข้มข้นขึ้นมาก เนื่องจากสังคม โลก ยุคสมัย เปิดกว้างมากขึ้น การช่วงชิงจังหวะทางการศึกษา ก็ย่อมเป็นหนทางสู่ความสำเร็จอันมั่นคง ก้าวหน้า สร้างโอกาศในอนาคตได้เป็นอย่างมาก.. การเลือกที่เรียนดีๆ สถาบันดีๆ มีมาตรฐาน.. มีมาตรฐานในความรับผิดชอบ ย่อมเป็นทางมาของผู้สอนที่มีคุณภาพ และนำไปสู่การเรียนที่มีประสิทธิภาพในที่สุด.. ซันเดย์ติวเตอร เป็นสถาบัน เป็นสถานี เป็นสถานบริการ ทางการศึกษา ที่มีการดำเนินการ อันมีหลักมีเกณฑ์ในการคัดสรรค์ติวเตอร์ ที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน ทั้งยังดูแลบริการให้คำปรึกษาทางด้านการศึกษาประกอบไปด้วย
               
                ทางซันเดย์ติวเตอร์ มีความยินดียิ่ง ที่ได้ร่วมงานกับผู้ปกครอง และติวเตอร์ ทุกท่าน ในการช่วยพัฒนาระดับความรู้ ความสามารถของเด็กไทย และขอขอบพระคุณทุกท่าน ที่ได้ให้การสนับสนุนเสมอมา





เว็บมาสเตอร์
ซันเดย์ติวเตอร์
http://www.sundaytutor.com/

ซันเดย์ติวเตอร์ สอนยังไง แบบไหน

              ถ้าถามว่าซันเดย์ติวเตอร์สอนแบบไหน ยังไง..? ในส่วนนี้ เป็นส่วนจัดการของตัวติวเตอร์เอง ที่ทางสถาบันซันเดย์ติวเตอร์ ได้รับรองให้ไปสอนพิเศษที่บ้านท่าน ทางซันเดย์ติวเตอร์มีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำกับติวเตอร์ ในการจัดการ รวมทั้งเป็นผู้ติดต่อประสานงาน แก้ไขปัญหาต่างๆ ระหว่างผู้ปกครองกับตัวติวเตอร์
               ซันเดย์ติวเตอร์ รับสอนพิเศษทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับ อนุบาล 1-2 ประถม ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6 มัธยม ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 อุดมศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก.. นับว่าเป็นการสอนทุกระดับจริงๆ              ในส่วนของรายวิชานั้น ยกตัวอย่างรายวิชาหลักเช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ชีวะ ฟิสิกส์ เคมี สังคมศึกษา วิชานอกเหนือวิชาการเช่น ดนตรี ศิลปะ คอมพิเตอร์โปรแกรมมิ่ง วิชาภาษาที่สาม จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศษ  วิชาในระดับอุดมศึกษาเช่น แคลคูลัส สถิติ เป็นต้น
                 ลักษณะการสอน ในแบบกลุ่ม เดี่ยว ก็จะมีลักษณะ ที่ถึงตัว ถามตอบ บางรายวิชาติวเตอร์อาจใช้เอกสารประกอบเพื่อเป็นไกด์ในการสอน หรือใช้หนังสือเรียนของนักเรียนเองเป็นตัวไกด์ เพื่อให้เข้าแนวเนื้อหาที่ใช้ในโรงเรียนของนักเรียน ในกรณีที่ติวเพื่อมุ่งเน้นผลในระดับโรงเรียน แต่ถ้าเป็นการสอนพิเศษเพื่อมุ่งสอบเข้า สอบแข่งขัน ก็จะใช้ลักษณะการยกตัวอย่าง และ อธิบาย เฉลยข้อสอบ ตามลักษณะแนวข้อสอบต่างๆ หรือข้อสอบเก่า เป็นต้น           ในส่วนของการวัดผล ติวเตอร์อาจจะใช้การจัดทำข้อสอบ โดยสุ่มข้อสอบ หรือ ข้อสอบที่ได้เคยสอนไป มาตรวจสอบนักเรียน ว่า.. ทำได้หรือไม่ อย่างไร              ซึ่งในการสอนแบบถึงตัวแบบนี้ เลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอนที่จะไม่เข้าใจเนื้อหา.. และนอกนั้น จะขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ที่ขึ้นตรงกับจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ การฝึกฝนในส่วนตัวของผู้เรียนเอง
                 จะเห็นได้ว่า แนวทางในการสอนของติวเตอร์ ซันเดย์ติวเตอร์ เป็นแนวทางที่จะเกิดผลสัมฤทธิ์ได้โดยแท้     ซึ่งเมื่อผลการเรียน หรือผลการสอบของนักเรียนเอง ก็จะเป็นตัวบ่งบอกในตัวของมันเองแน่นอนครับ






เว็บมาสเตอร์
ซันเดย์ติวเตอร์
http://www.sundaytutor.com/
                

เรียนเดี่ยว เรียนกลุ่ม เรียนทั้งห้อง

                  เรียนเดี่ยว เรียนกลุ่ม เรียนเป็นห้องใหญ่ อะไรดี อะไรเสีย อย่างไร แน่นอนว่าไม่มีสูตรสำเร็จว่า รูปแบบไหน เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้ คือ.. ทำให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหาได้ดีที่สุด ครั้งละหลายๆ คน เท่าที่จะเป็นไปได้มากที่สุด และมีต้นทุนน้อยที่ สุด..
                   ในยุคปัจจุบัน การเรียนพิเศษ นับว่าเป็นเส้นทางลัดของการเรียนรู้ ที่นอกเหนือไปจากห้องเรียน ผู้ปกครองทุกคนต่าง มุ่งพยายามที่จะเสาะแสวงหา สำนักสอนพิเศษที่ดีที่สุด เท่าที่จะหาได้ แต่ถามว่า จริงๆ แล้ว สิ่งที่เหล่าท่านแสวงหามันเป็นสิ่งดีที่สุดจริงๆ หรือ อะไรเป็นหลักฐาน หลักเกณฑ์ หรือว่า สถาบันนี้ อาจารย์นี้ ดีที่สุด ขนคนเข้า มหาวิทยาลัยได้มากที่สุด.. แล้วมันจะดีที่สุดจริงหรือ หากบุตรของเหล่าท่านไม่ได้นั่งในที่ตรงนั้น.. ลองพิจารณาดูนะครับ
                    การเรียนห้องใหญ่้ ข้อดีคือ เป็นที่ที่รวมของหมู่คนที่แสวงหาอาจารย์ดี ได้ข่าวว่าที่ไหน อาจารย์ดี เราก็เฮโลกันไป จับจองที่นั่ง การที่เราเข้าไปเรียนในที่ที่เหล่านี้ ก็นับว่าดีครับ เพราะได้เรียนกับอาจารย์ดัง ได้ความรู้ แนวการทำข้อสอบที่แปลกใหม่ (ถ้าเรียนเข้าใจนะ..) อันเป็นผลมาจากอาจารย์นั่นเอง ค่าเล่าเรียนก็แสนถูก เพราะการสอนแบบนี้ ต้นทุนต่ำ สอนรอบเดียว สอนคนได้ตั้งหลาย.. ค่าเล่าเรียนถ้านับเอาว่าเป็นราคาต่อชั่วโมงก็นับว่าถูกนัก และ มาตรฐานผู้สอน ย่อมได้ผู้สอนดี เก่ง แน่ทีเดียว ได้พบเพื่อนมากมาย ใกล้สถานที่สำคัญๆ ศูนย์การค้า การเดินทางไปมาสะดวก.. ข้อเสียคือ ถ้าบุตรของท่าน ไม่เก่งพอ พื้นฐานไม่ดี ก็เหมือนเอาเงิน กับ เวลา ไปทุ่มทิ้ง.. เพราะบุตรของท่านต้องเสียเวลาเดินทาง ทั้งๆ ที่ ไม่เข้าใจเนื้อหาเบื้องต้น.. และไม่เข้าใจว่า ไปเรียนทำไม ก็ในเมื่อมันเรียนไม่รู้เรื่อง.. จนที่สุดอาจจะออกไปสู่ ทางออกนอกเรียน และศูนย์การค้า คาราโอเกะเป็นที่ตั้ง.. ข้อเสียของการไม่เข้าถึงผู้สอน เข้าไม่ถึงผู้สอน เนื่องจากนักเรียนมีเยอะ อาจารย์มีรอบสอนถี่ๆ มีงานวิชาการ ตำหรับตำราเยอะแยะ ไม่นับรวมการเป็นที่ปรึกษาใหแก่บริษัทต่างๆ การที่จะดูแลนักเรียนให้ทั่วถึงจึงเป็นไปได้ยาก จนกระทั่งเป็นไปไม่ได้.. เมื่อเด็กมีปัญหาเกิดขึ้น.. เขาจะไปพึ่งใคร
                       การเีรียนกับครู กลุ่มย่อยๆ 4-5 คน การเีรียน 4-5 คนย่อมเข้าถึงตัวผู้สอนแน่แท้ ราคาก็นับว่าแพงกว่าเรียนเป็นคลาสใหญ่แน่ๆ แต่ก็เขยิบมานิดหน่อย ราคาค่าสอน 4-5 คนตกประมาณรอบละ 1000-1500 บาท ตกคนละ300 บาท แล้วถ้ารอบหนึี่งๆ เรียนกันสัก 2 ชั่วโมง ก็ตกสนนราคาที่ 150 บาทต่อชั่วโมง ราคาขนาดนี้ พ่อค้าแม่ค้า พนักงานเงินเดือนทั่วไป จ่ายได้ ไม่ยากนัก หากได้อาจารย์ที่มีทักษะการสอนดี การดูแล ก็ทั่วถึง เช็คความเข้าใจได้จาก การถามตอบ ถามตอบ เรียงตัว รายบุคคลไม่ยาก นับว่าเป็นข้อดีนัก       สำหรับข้อเสีย ถ้าจะบอกว่า การเข้าถึงผู้เรียน การเข้าถึงผู้สอน ทั่วถึงกว่าการเรียนคลาสใหญ่ๆ ก็จริง แต่ถ้าเทียบกับ ตัวต่อตัวแล้ว ก็นับว่า ยังสู้ในแบบตัวต่อตัวไม่ได้อยู่ดี.. เวลาที่เด็กมาเรียนกันเป็นกลุ่มๆ ระดับเด็กที่ต่างกัน จะเป็นตัวแบ่ง ขาดความเข้าใจเนื้อหาออกจากกัน ผู้สอนจะต้องมีทักษะมาก ในการแก้ไขปัญหา.. แน่นอนว่า ระบบแบบนี้ผู้สอนจะเห็นว่า ใครอ่อน ใครเก่ง และจำเป็นที่จะต้องเลือกสอน กลุ่มคนเก่งหรืออ่อน กลุ่มคนใด ไ้ด้เพียงกลุ่มบุคคล ในกลุุ่มย่อยๆ นั้นเพียงเท่านั้น.. เช่นเมื่อ อาจารย์ เห็นว่าเด็กคนนี้อ่อน.. จึงปรับจังหวะวิธีการสอนให้ช้าลง ลงเนื้อหาให้กว้างเข้าไว้เพื่อเน้นความเข้าใจเป็นพื้นเพก่อนการประยุกต์แก้ปัญหา.. จะทำให้กลุ่มคนเก่งรู้สึกว่า อาจารย์สอนช้า ดึงเวลา เนื้อหาเยิ่นเย้อ เหมือนฟัง 2 ชั่วโมง แต่สาระ มี 2 นาที ถึงแม้ว่า ผู้สอนจะใช้วิธีการดึงเวลาเด็กเก่งไว้ ด้วยการทิ้งทวนแบบผึกหัด แต่ว่า.. ท้ายที่สุด ก็ยากจะควบคุมเด็กเก่งได้.. เพราะจริงๆ แล้ว หลักๆ ในการแก้ปัญหาของคนเก่ง ก็คือ การทำลาย อีโก้ ตัวตนเป็นเบื้องแรก มากกว่า..        และในทางกลับกัน ถ้าเน้นการสอนที่มุ่งสร้างคนเก่ง จะทำให้คนอ่อน ตามไม่ทัน ไม่รู้เรื่อง และ พาลจะไม่มาเรียนเอาได้ อย่างนี้ก็ไม่ดี .. การที่จะแสวงหาทางสายกลาง ที่มีความเฉพาะคน เฉพาะกลุ่ม เป็นสิ่งที่ยาก.. ถ้าผู้สอนมีประการณ์เยอะ มีทักษะ การสอนที่ดี นำเรื่อง แล้ววางแบบฝึกหัด ต่อจังหวะได้อย่างไม่เสียเวลา.. เนื้อหา ความเข้าใจ ก็จะสามารถวางไปได้ ลงตัว และเหมาะสมกับเวลา ซึ่งการสอนแบบนี้ การสอนกลุ่มย่อย เป็นงานสอนที่ยากเอาการ เพราะเป็นการรับผิดชอบแบบหวังผลรวด 4-5 คน มากกว่าจะเป็นการหว่านหวังผลแบบกลุ่มใหญ่ หรือการหวังผลในแบบเรียนเดี่ยวตัวต่อตัว
                          การเรียนตัวต่อตัว แน่นอนครับว่า เรื่องค่าใช้จ่ายต้องสูงแน่ๆ ในราคาปัจจุบัน ค่าสอน คิดกันชั่วโมงละ 200 บาทเป็นขั้นต่ำสุดสำหรับระดับที่ต่ำกว่า ม.ต้นลงไป.. ถามว่าผู้เขียนเอาอะไรมาวัด เว็บอื่น 150บ้าง 180 บ้างก็มี แต่ในฐานะที่ตนเอง เป็นติวเตอร์เหมือนๆ กัน ถ้าราคาต่ำกว่า 200 มากๆ ก็จะไม่อยากจะรับงานแล้ว นอกเสียแต่ว่า งานนั้นอยู่ใกล้เพียงหน้าบ้าน หรือ เด็กเดินทางมาเรียนกันถึงบ้านติวเตอร์เท่านั้น ลองสังเกตดูนะครับว่า ถ้าท่านเป็นผู้ปกครอง แล้วท่านไปต่อรองเว็บ ใ้ห้เขาจัดหาผู้สอนให้ ในระดับราคาที่ท่านต้องการ เช่น ชั่วโมงละ 150 บาทเท่าั้นั้น        การที่ท่านจะได้ติวเตอร์โดยเร็ว แล้วมีคุณภาพนั้น ออกจะยากสักหน่อย ก็นอกเสียว่าบังเอิญบ้านของติวเตอร์ท่านนั้นอยู่ปากซอยบ้านท่านพอดี..            การเรียนเดี่ยวนับว่ามีข้อดีนักในเรื่องของความเข้าใจของนักเรียน เพราะการสอนง่าย ไม่มีความซับซ้่อนในเรื่องการจัดการ จะว่าไป เพียงปากกาด้ามเดียว กับกระดาษสักสองแผ่นก็สอนกันได้ โดยไม่ต้องออกแบบชีท อุปกรณ์การสอนเสริม .. ส่วนเรื่องสอบทวนความเข้าใจ ก็เช็คได้จากการถามตอบโดยทันที และไม่ต้องไปรั้งรอผู้ใด เนื่องจากมีกันแค่สองคน ระหว่างติวเตอร์ และ นักเรียน.. แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การสอนแบบนี้ ถ้าไม่ได้ติวเตอร์ที่มึคุณภาพ ก็อาจะโดนถ่วงเวลาเด็ก ชวนเด็กคุยเรื่องโน้นที เรื่องนั้นที พอเวลาผ่านไปจนหมด ก็รับตัง กลับบ้านไม่ได้อะไร.. ซึ่งคนแบบนี้ก็มี.. เพราะโดยสัญชาตญาณของเด็ก ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน ถ้าผู้สอนพานอกเรื่อง ก็เข้ารกเข้าพงได้โดยทันที โดยไม่ต้องมีพร้า.. เรื่องนี้ผู้ปกครองต้องพึ่งระวัง.. โดยสังเกตจากบุคคลิกของติวเตอร์ของท่าน ว่าเขาเป็นเช่นไร มีคุณธรรมจรรยาบรรณหรือไม่ เหล่านี้ อาจจะพอเช็คได้จากคำถามบางอย่างในแง่ของการแสดงออกทางทัศนคติ และ.. ในส่วนของเด็ก ท่านอาจจะสังเกตได้จากการถามว่า เขาสอนอะไรบ้้าง หรือ ดูได้จากผลการเรียน วัดผลต่างๆ
                      สรุปแล้ว ไม่ว่าท่านจะเรียนในแบบไหน ย่อมไม่มีทางใดที่ดีได้ที่สุด ขึ้นอยู่กับวาระ โอกาส และงบประมาณ ทางซันเดย์ติวเตอร์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความที่ได้แสดงทัศนะไว้นี้จะเป็นแนวทางที่ดี ในการนำไปประกอบการพิจารณาเลือกสถาบันและรูปแบบการสอน การเรียน ของบรรดานักเรียนและผู้ปกครองในโอกาสต่อไป
                        ขอคุณพระศรีรัตนตรัยจงอำนวยผลทางจิต มุ่งหมาย สัมฤทธิ์ แด่ทุกคน ทุกท่าน เทิญ.



เว็บมาสเตอร์