วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กำหนดการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบบมหิดลโควตา ปีการศึกษา ๒๕๕๖


กำหนดการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยมหิดล ระบบมหิดลโควตา

ปีการศึกษา ๒๕๕๖ 



ลำดับวัน  เดือน  ปีกิจกรรม
๖ ก.ค. –๓๑ ต.ค.๕๕มหาวิทยาลัยมหิดล : ประชาสัมพันธ์การรับนักศึกษาระบบโควตา
·        เว็บไซต์ http://www.mahidol.ac.th/quota2013
·        จัดส่งเอกสารไปยังโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
·        Open House คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท กรุงเทพฯ
·        แนะแนวสู่รั้วมหาวิทยาลัยมหิดล  วิทยาเขตกาญจนบุรี
·        Open House แนะนำหลักสูตรทางสถานีวิทยุจุฬา (จันทร์ พุธ ศุกร์)
·        แนะแนวสู่รั้วมหิดล จ.นครสวรรค์
·        แนะแนวตามโรงเรียนกลุ่มตามเป้าหมาย(ร.ร. Top 10)
·        กิจกรรมวันมหิดล ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จ.นครปฐม
·        สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ (โปสเตอร์  วิทยุ และโทรทัศน์)
๑๕ ส.ค. –๓๑ ต.ค.๕๕
 

 
มหาวิทยาลัยมหิดล : รับสมัครทางออนไลน์  โดยเข้าเว็บไซต์  http://www.mahidol.ac.th/quota2013
เข้า Menu มหิดลโควตา
·        ให้ผู้สมัครศึกษาข้อมูลก่อนสมัคร  และตรวจรายวิชาที่หลักสูตรกำหนดให้สมัครสอบกับ สทศ.  ในระบบ
รับตรงร่วม(รายวิชาสามัญ ๗ วิชา) และสอบ PAT3(เฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์)
·        เฉพาะผู้สมัครหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  สอบ GAT, PAT 1,
PAT 2ไม่สอบข้อเขียนรับตรงร่วม (รายวิชาสามัญ ๗ วิชา)รับสมัครระหว่างวันที่ ๑๕ ส.ค.-๓๐ ก.ย.๕๕
·        ให้ผู้สมัครคีย์ข้อมูลออนไลน์  และดาวน์โหลดใบแจ้งการชำระเงินค่าสมัคร/ใบเสร็จรับเงิน  โดยนำไปชำระเงิน
ค่าสมัคร ๑๐๐ บาท ที่ธนาคารไทยพาณิชย์  ธนาคารกรุงเทพ  ธนาคารกสิกรไทย  ธนาคารกรุงไทย  และ
ธนาคารทหารไทยทุกสาขาทั่วประเทศ
·        ให้ผู้สมัครสั่งพิมพ์ใบสมัคร  และจัดส่งพร้อมหลักฐานการสมัครทั้งหมดทางไปรษณีย์ ภายในวันที่ ๓๑ ต.ค.๕๕(ถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์)
ประมาณวันที่
๑๐-๓๐ ต.ค.๕๕
ตามประกาศ สทศ.
สมัครสอบข้อเขียนรับตรงร่วม (วิชาสามัญ ๗ วิชา) ค่าสมัครสอบวิชาละ ๑๐๐ บาทดำเนินการโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)ทางเว็บไซต์ http://www.niets.or.th
 ๖-๙ ต.ค.๕๕สอบ GAT และ PAT ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)
·        ผู้สมัครในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ต้องสอบวิชา GAT, PAT 1, PAT 2
·        ผู้สมัครในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องสอบวิชา PAT 3
๓๐ พ.ย.๕๕มหาวิทยาลัยมหิดล : ประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบโควตาที่มหาวิทยาลัยได้รับเงินค่าสมัครและเอกสารหลักฐานแล้ว  ทางเว็บไซต์ http://www.mahidol.ac.th/quota2013 ผู้ที่ชำระเงินและส่งเอกสารแล้วแต่ไม่มีรายชื่อปรากฏให้ติดต่อกลับภายในวันที่ ๔ ธ.ค.๕๕
๕-๖ ม.ค.๕๖
ตามประกาศ สทศ.
สอบข้อเขียนรับตรงร่วม (วิชาสามัญ ๗ วิชา) ที่ดำเนินการโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) (ผู้สมัครระบบโควตา ม.มหิดล ต้องเข้าสอบให้ครบทุกวิชาตามที่หลักสูตรกำหนด)
·        เฉพาะผู้สมัครหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  สอบ GAT, PAT 1,
PAT 2ไม่สอบข้อเขียนรับตรงร่วม (รายวิชาสามัญ ๗ วิชา)
๙-๑๐ ก.พ.๕๖สอบ O-NETโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)
 
ลำดับวัน  เดือน  ปีกิจกรรม
ประมาณวันที่ ๑๑ ก.พ.๕๖
ตามประกาศ สทศ.
สทศ. ประกาศผลคะแนนสอบรับตรงร่วม (วิชาสามัญ ๗ วิชา) ทางเว็บไซต์ http://www.niets.or.th
พร้อมทั้งแจ้งคะแนนสอบไปยังมหาวิทยาลัย/สถาบัน
๒๐ ก.พ.๕๖
 

 
มหาวิทยาลัยมหิดล  :  ประกาศผู้ผ่านข้อเขียนรับตรงร่วมที่มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์/สอบวิชาเฉพาะ/ สอบความถนัด ทางเว็บไซต์ http://www.mahidol.ac.th/quota2013
·          มหาวิทยาลัยจะประกาศรายชื่อเฉพาะผู้ที่ชำระเงินค่าสมัคร ส่งเอกสาร และคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์
ที่กำหนด 
๑๐๒๑-๒๓ ก.พ.๕๖ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ /สอบวิชาเฉพาะ/สอบความถนัด ส่งแบบตอบรับการเข้าสอบฯ ไปยังส่วนงาน
๑๑๒๓-๒๘ ก.พ.๕๖สอบสัมภาษณ์/สอบวิชาเฉพาะ/สอบความถนัด  ณ  ส่วนงานที่สมัคร
๑๒๔ มี.ค.๕๖มหาวิทยาลัยมหิดล : ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือก ทางเว็บไซต์ http://www.mahidol.ac.th/quota2013
๑๓ภายในวันที่ ๑๐ มี.ค.๕๖สอท. ประกาศให้นักเรียนเลือกมหาวิทยาลัยที่จะเข้าศึกษา  นักเรียนสามารถเลือกได้เพียง ๑ แห่ง  หากนักเรียน
ไม่เลือกมหาวิทยาลัยตามเวลาที่กำหนด  ถือว่านักเรียนสละสิทธิ์การรับตรง แต่มีสิทธิ์ในระบบกลาง (Admissions)
๑๔๑๑-๑๗ มี.ค.๕๖นักเรียนยืนยันสิทธิ์ไปที่ สอท. เพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรที่ผ่านการคัดเลือก
๑๕ภายในวันที่ ๒๔ มี.ค.๕๖สอท. แจ้งรายชื่อนักเรียนที่ยืนยันสิทธิ์กลับไปมหาวิทยาลัยเพื่อจัดทำประกาศ
๑๖๒๕ มี.ค.๕๖มหาวิทยาลัยมหิดล : ประกาศผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
ทางเว็บไซต์  http://www.mahidol.ac.th/quota2013
๑๗๒๖ มี.ค. –๒ เม.ย.๕๖ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษากรอกระเบียนประวัตินักศึกษาใหม่  และลงทะเบียนเรียนออนไลน์
ทางเว็บไซต์ http://www.mahidol.ac.th/quota2013
·           กรอกข้อมูลระเบียนประวัตินักศึกษาใหม่ออนไลน์ (E-Profile) หากไม่กรอกข้อมูลระเบียนประวัติฯ
นักศึกษาจะไม่ได้รับรหัสประจำตัวนักศึกษา  และไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
ในวันที่ ๒๙-๓๐ พ.ค.๕๖ ได้
·           ลงทะเบียนเรียนออนไลน์โดยดาวน์โหลดใบรับรองการชำระเงิน (Invoice) ค่าธรรมเนียมการศึกษาแล้วนำไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงเทพ  ธนาคารทหารไทย  หรือธนาคารไทยพาณิชย์  ทุกสาขาทั่วประเทศ  หากนักศึกษา
ไม่ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ จะถือว่าสละสิทธิ์การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล
๑๘๘ เม.ย.๕๖นักเรียนส่งหลักฐานการจบการศึกษาชั้นมัธยมปลายพร้อม GPA (๖ ภาคการศึกษา)
ไปยังส่วนงานที่มีสิทธิ์เข้าศึกษา  หากส่งไม่ทันตามกำหนด ให้แจ้งขอผ่อนผันไปยังส่วนงานนั้นๆ
ก่อนวันที่ ๘ เม.ย.๕๖  และเมื่อทราบผลให้จัดส่งทันที
หมายเหตุ      ผู้ที่จบการศึกษาที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด  จะหมดสิทธิ์เข้าศึกษา  ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจะคืนค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ชำระไว้ให้
๑๙๒๙-๓๐ พ.ค.๕๖ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาที่ลงทะเบียนออนไลน์และชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาแล้ว  ให้ไปขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา (พร้อมกับ กสพท.และแอดมิชชัน)
๒๐๓๑ พ.ค.๕๖ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่
๒๑๓ มิ.ย.๕๖เปิดภาคการศึกษาที่ ๑  ปีการศึกษา ๒๕๕๖


http://www.sundaytutor.com

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เปิดรับนักศึกษาในคณะแพทยศาสตร์


 เปิดรับนักศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ 12 สถาบัน และคณะทันตแพทยศาสตร์ 5 สถาบัน รวมทั้งสิ้น 1,421 ที่นั่ง รายละเอียดเป็นยังไง มาดูกันเลย
คณะที่เปิดรับ
           - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับ 20 คน
           - คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับ 200 คน
           - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับ 55 คน
           - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับ 65 คน
           - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร รับ 30 คน
           - คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล รับ 156 คน
           - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รับ 250 คน
           - วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต รับ 40 คน
           - คณะแพทยศาสตร์ มศว รับ 180 คน
           - คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ รับ 25 คน
           - คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.กรุงเทพมหานคร รับ 70 คน
           - วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า (ชาย) รับ 60 คน
           - วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า (หญิง) รับ 40 คน
           - คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับ 80 คน
           - คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล รับ 80 คน
           - คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รับ 25 คน
           - คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ รับ 20 คน
           - คณะทันตแพทยศาสตร์ มศว รับ 25 คน

กำหนดการอย่างเป็นทางการ
           1 - 31 ส.ค. 55 - รับสมัครทาง Internet
           1 ส.ค.- 5 ก.ย.55 - ชำระเงินค่าสมัคร (จ่ายได้เฉพาะ ธ.ไทยพาณิชย์)
           10 พ.ย.55 - สอบวิชาเฉพาะแพทย์
           5 - 6 ม.ค.55 - สอบ 7 วิชาสามัญ (จัดสอบโดย สทศ.)
           19 ก.พ.55 - ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย


เรื่องน่ารู้ กสพท.56 (จากการแถลงข่าว)
           - การสมัครสอบ กสพท.ปี 2556 จะมี 1 สิ่งที่แตกต่างจากการสมัครปีก่อนๆ คือ ผู้สมัครไม่ต้องส่งใบสมัคร และเอกสารประกอบการสมัครทางไปรณีย์ไปให้ทาง กสพท.เหมือนปีก่อนๆ ที่ผ่านมา แต่ปีนี้จะให้เก็บเอกสารแล้วนำมาให้กับทางคณะหลังการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์

           - สัดส่วนการสอบคัดเลือก กสพท.ปี 56 จะประกอบไปด้วย คะแนน 7 วิชาสามัญ (70%)+วิชาเฉพาะ (30%) ทั้งนี้ 7 วิชาสามัญทุกวิชาต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ส่วนโอเน็ตไม่นำมาเป็นองค์ประกอบ แต่ทุกวิชาก็ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 (กรณีเด็กซิ่วที่มี O-NET ไม่ถึง 60% ทาง กสพท.จะพิจารณาจากอย่างอื่นแทน ติดตามข้อมูลในระเบียบการอีกที)

            - ศ.นพ.อาวุธ ศรีสุกรี เลขาธิการ กสพท.ยืนยันเด็กซิ่วจะไม่พิจารณาในส่วนคะแนน O-NET และส่วนเด็ก ม.6 สายศิลป์-ภาษา, ศิลป์-คำนวณ, กศน. ก็สามารถสอบ กสพท.ได้ โดยจะไม่มีการคัดออกระหว่างทาง และปีนี้ กสพท.ยังเข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮ้าส์

           - เลขาธิการ กสพท.เปิดเผยว่าในปีการศึกษา 2555 ที่ผ่านมามีเด็กนักเรียน ม.6 ที่สอบติดคณะแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ แต่ต้องถูกตัดสิทธิ์อดเรียน เพราะทำคะแนนโอเน็ตได้ไม่ถึงเกณฑ์ ถึง 21 คน ซึ่งได้รับการเยียวยาให้เรียนในคณะอื่นแทน

           - เว็บไซต์สมัครสอบ กสพท.คือ http://www9.si.mahidol.ac.th/

           - อ่านระเบียบการ กสพท.56 แบบเต็มๆ คลิกที่นี่



http://www.sundaytutor.com

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โครงการคัดเลือกตรงความสามารถพิเศษและทุนเพชรพระจอมเกล้า








โครงการคัดเลือกตรงความสามารถพิเศษและทุนเพชรพระจอมเกล้า
 >> กำหนดการโครงการ
1 สิงหาคม - 30 กันยายน 2555     สมัครทางอินเตอร์เน็ต http://admission.kmutt.ac.th
1 ตุลาคม 2555 ส่งหลักฐานการสมัครพร้อมแฟ้มสะสมผลงาน (สำเนา) ทางไปรษณีย์
11 ตุลาคม 2555  ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์
11-17 ตุลาคม 2555 ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ Download ใบชำระเงินค่าสมัคร 300 บาท และนำไปชำระเงิน
24-26 ตุลาคม 2555 สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์
5 พฤศจิกายน 2555  ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา

 >> คณะและสาขาที่เปิดรับ

- คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิศวกรรมเครื่องกล (ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องกล (ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิศวกรรมโยธา 
(ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมโยธา (ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ 
(ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอุตสาหการ (ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า 
(ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไฟฟ้า (ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน (ทุกสายการเรียน)

- โครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาตส์และเทคโนโลยีมีเดีย
   * มีเดียอาตส์ (ทุกสายการเรียน)
   * มีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์  (ทุกสายการเรียน)

- ด้านความสามารถพิเศษ โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
   * ด้านกีฬา
   * ด้านศิลปวัฒนธรรม
   * ด้านความเป็นผู้นำ
   * ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม


อ่านเพิ่ม คลิกที่นี่


โครงการคัดเลือกตรงโดยใช้คะแนน GAT/PAT 
*ต้องมีผลคะแนน GAT PAT ตามที่แต่ะละสาขากำหนด

 >> กำหนดการโครงการ
1 สิงหาคม - 15 พฤศจิกายน 2555 สมัครทางอินเตอร์เน็ต http://admission.kmutt.ac.th
20 พฤศจิกายน 2555 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์
20 - 26 พฤศจิกายน 2555 ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ Download ใบชำระเงินค่าสมัคร 300 บาท และนำไปชำระเงิน 
ภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 ส่งหลักฐานการสมัครพร้อมหลักฐานการชำระเงินทางไปรษณีย์
6 - 8 ธันวาคม 2555  สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์
14 ธันวาคม 2555 ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา

 >> คณะและสาขาที่เปิดรับ
- คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิศวกรรมเครื่องกล (ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องกล (ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิศวกรรมโยธา 
(ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมโยธา (ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ 
(ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอุตสาหการ (ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า 
(ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไฟฟ้า (ปวช.ช่างที่เกี่ยวข้อง)
   * สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน (ทุกสายการเรียน)


- โครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาตส์และเทคโนโลยีมีเดีย
   * มีเดียอาตส์ (ทุกสายการเรียน)
   * มีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์  (ทุกสายการเรียน)


อ่านเพิ่ม คลิกที่นี่

          มีให้เลือกหลายสาขาจริง ๆ เลยนะคะทั้ง 2 โครงการ ส่วนใครที่กำลังน้อยอกน้อยใจว่าทำไมสามารถที่ฉันอยากเรียนถึงไม่มีเล่า เด็ก ปวช.จะสอบไม่ได้จริง ๆ หรือ? ก็อย่างเพิ่งน้อยใจไป เพราะถึงแม้จะไม่มีสอบตรงมายังไงแอดมิชชั่นกลางก็มีสิทธิ์แน่นอนค่ะ

       

 http://www.sundaytutor.com

ที่มาจากเว็บเด็กดี

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ติวเตอร์มือใหม่กับการเริ่มสอนพิเศษ

ที่มาของบทความ: รุ่งโรจน์ ธัญญมนูกูล
เหมาะสำหรับ: ผู้ที่มีวิญญาณแห่งความเป็นครูสถิตย์อยู่ในร่าง
หมายเหตุ: ใครที่ต้องการก๊อปปี้ไปแปะที่อื่น ขอบอกว่า "ยินดี" แต่ช่วยให้เครดิตด้วยนะครับ
บทความนี้มีแรงบันดาลใจมาจากน้องคนหนึ่ง ที่เป็นติวเตอร์ที่สอน อยู่ในสถาบันของที่นี่ เป็น ติวเตอร์ที่มีความสามารถสูง โดยติวเตอร์ท่านนี้ได้มีโอกาสในการสอนเด็กๆกลุ่มหนึ่ง ที่หัวไม่ค่อยดีเท่าใดนัก ภายหลังจากการสอน ผลของการตอบรับจากเด็กๆพวกนี้ “ไม่ดีเท่าที่ควร” ติวเตอร์ผู้นั้นรู้สึกผิดหวังกับ การตอบรับจากเด็กๆกลุ่มนั้น พร้อมกับเปรยๆขึ้นมาว่า “ถ้าไม่สอนอย่างนี้ แล้วมันจะสอบผ่านเหรอ” ผมได้แต่ยิ้ม ด้วยเหตุที่ว่า ผมได้เห็นตัวเองในสมัย สิบกว่าปีก่อน สมัยที่เริ่มต้นสอนพิเศษ ใหม่ๆ ส่วนเหตุผลที่ทำไมคำตอบรับเป็นเช่นนั้น เหตุผลนั้น ผมรู้อยู่ในใจ แต่ไม่ได้บอกออกไป ไม่ใช่ว่าไม่มีความสามารถ ไม่ใช่ว่าพูดไม่รู้เรื่อง ไม่ใช่ว่าจะใจร้อน เป็นเพราะอะไร?? อันที่จริงบทความนี้ ผมอยากจะเขียนมานานแล้ว โดยจุดเริ่มต้นที่แท้จริง เกิดมาเมื่อแปดปีก่อน ที่ผมยังได้แต่สอนพิเศษ แบบกระโตงกระเตง คือ ไปนั่งสอนพิเศษ ตามห้างสรรพสินค้า ไปสอนตามศูนย์อาหาร หรือแม้แต่ไปสอนในแมคโดนัลด์ ที่บางทีสอนๆอยู่ก็มีพนักงาน เดินมาบอกว่า “พี่ๆที่นี่เค้าห้ามสอนพิเศษนะครับ”มีอยู่วันหนึ่ง เวลา 11 โมง ผมได้ไปสอนคณิตศาสตร์ ที่ดังกิ้นโดนัทตามปกติ ผมได้เห็นเด็กรุ่นน้องวิศวะจุฬา ที่นั่งโต๊ะติดกับผมคนหนึ่ง มาสอนนักเรียน ในเรื่องเวคเตอร์ น้องคนนี้พูดจาฉะฉาน ตั้งใจสอน พูดด้วยหลักการภาษาทางคณิตศาสตร์ ไม่เพี้ยนแม้แต่น้อย ผมได้แต่นั่งยิ้ม เพราะผมได้เห็นตัวเองในสมัยก่อนอีกแล้ว ภายในใจ ก็มีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า เมื่อผมมาที่นี่เวลานี้ ในทุกๆอาทิตย์ ผมอาจจะไม่ได้เจอเค้าอีก และแล้ว มันก็เป็นจริงอย่างที่ผมคิดจริงๆ ทำไมเค้าหายไปไหนล่ะ บทความนี้จะมีคำตอบ....

อาจารย์สอนเคมีที่โรงเรียนวัดสุทธิ ท่านหนึ่งเคยบอกกับผมไว้ว่า “การสอนหนังสือ ต้องประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ ศาสตร์ และ ศิลป์” สำหรับคำว่า ศาสตร์ แปรตามตัวก็คือ องค์ความรู้ แต่ศิลป์ล่ะ คืออะไร?? ผมกำลังจะบอกว่า “มันคือวิธีการถ่ายทอดความรู้” สั้นๆ แต่ลึกซึ้งมาก มันเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากกว่าศาสตร์เสียอีก อาจารย์สอนหนังสือส่วนใหญ่มักจะมองข้ามตรงจุดนี้ไป และมักจะมองว่าไม่สำคัญ แต่ผมขอย้ำว่า มันสำคัญที่สุด และเป็นหัวใจสำคัญของบทความนี้ครับ

สอนแบบกั๊ก ดีกว่า สอนแบบไม่กั๊ก
ใช่ครับคุณไม่ได้ตาฝาด ย้ำอีกครั้งก็ได้ว่า “สอนแบบกั๊ก ดีกว่า สอนแบบไม่กั๊ก” ตัวผมเคยสอนเด็กอยู่สองคน คนหนึ่งเป็นเด็กนักเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนท์ อีกคนเป็นเด็กนักเรียนโรงเรียนทวีธาภิเศก เด็กสองคนนี้เป็นเด็กที่เรียนเก่งทั้งคู่ เด็กทวีธาภิเศกเป็นเด็กที่อยู่ห้องคิงและเป็นอันดับหนึ่งของระดับชั้นมาโดยตลอด สำหรับเด็กเซนต์โยเซฟ เป็นเด็กที่อยู่อันดับต้นๆของระดับ ที่ได้เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด การสอนของทั้งสองคนนี้ผมสอน “แตกต่างกัน” คนแรกผมสอนเทคนิคที่ผมมีอยู่ในหัวทั้งหมดให้กับเค้า ส่วนคนสองผม “เลือก” ที่สอนเทคนิดบางอย่างให้กับเค้า หลังจากประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย วิชาคณิตศาสตร์ เด็กคนแรกได้ 65 คะแนน เด็กคนที่สองได้ 92 คะแนน เกิดอะไรขึ้น?? จากข้อสรุปง่ายๆอย่างหนึ่งที่ผมต้องการจะบอกคือ ในบางครั้งการสอนทั้งหมด แทนที่จะเป็นผลดีกับเด็ก แต่เป็นผลเสียมากกว่า เพราะ เมื่อถึงเวลาจริง เด็กคนนั้นจะเอาไปใช้ไม่ได้เลย และจะสับสนมากกว่าที่จะสามารถทำข้อสอบได้อย่างรวดเร็ว ก็คงไม่ต่างจาก โดเรม่อน ที่เวลาคับขัน ก็มักจะควักของวิเศษมากมายมากองไว้ตรงหน้า แล้วก็ใช้ไม่ได้ซักกะอัน
อย่างไรก็ตาม การสอนแบบกั๊ก จะต้อง “สอนครบ” หมายความว่า หัวข้อจะต้องไม่กระโดด มีความต่อเนื่อง และค่อยๆสอนเทคนิคที่ “เหมาะสม” กับเด็กแต่ละคนไป บางคนอาจจะไม่สอนเทคนิค อะไรเลย บางคนอาจจะสอนแค่บางอย่าง จะตราหน้าผมว่าเป็น “ไอ้กั๊ก” ก็ได้ ผมไม่ว่าครับ แต่จากประสบการณ์สอนพิเศษ กว่าสิบปีของผม บอกว่า “เด็กแต่ละคน ย่อมรับกับของบางอย่างเท่านั้น ที่เหมาะกับเค้า” ติวเตอร์บางคนเห็นว่า เด็กหัวไม่ดี จะต้องเอาแบบฝึกหัดยากๆ เยอะๆ เทคนิคเพียบ มาให้ทำ บอกได้เลยครับว่า ถ้าสอนแบบนั้น เด็กจะไม่ได้อะไรกลับบ้านไปเลย ผมรู้สึกเห็นใจติวเตอร์บางท่าน ที่ตั้งใจสอน เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี หวังว่าจะให้ลูกศิษย์ได้ความรู้อย่างเต็มที่ และเมื่อเริ่มการสอนพิเศษ ในครั้งแรกๆโดยการ สอนๆๆๆๆๆๆ และสอนๆๆๆๆ แต่ท้ายสุดกลับ เจ็บใจกับคำพูดที่ตอบกลับมาว่า “อาจารย์พูดอะไรไม่รู้เรื่องเลย”
วัฒนธรรมอย่างหนึ่งของ อาจารย์คนไทย (มักจะพบได้กับอาจารย์จบใหม่ ไฟแรง)  คือ “สอนทุกอย่าง ในสิ่งที่ตนเองรู้ทั้งหมด ให้กับลูกศิษย์” ซึ่งผมมองว่า มันไม่ดีเลย สำหรับผู้ที่ได้อ่านบทความนี้ของผม (ต้องขอขอบคุณ กูเกิ้ล) ช่วยๆกันเปลี่ยนใหม่ดีกว่าไหมครับ “สอนทุกอย่างให้กับลูกศิษย์ ในแบบที่เค้าควรจะรู้”

สอนถูกใจนำ สอนถูกต้องตาม
หลายท่านอาจจะดูงงๆ เปลี่ยนเป็นคำพูดใหม่ “นอกเรื่องนำ วิชาการตาม” หัวข้อนี้เป็นวิธีการสอนที่เหมาะอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กแสบๆที่ไม่ตั้งใจเรียน หรือเด็กเล็กที่มีสมาธิสั้น มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมได้มีโอกาสสอน พิเศษเด็กคนหนึ่งที่จัดว่า แสบ มาก ไม่มีติวเตอร์สอนพิเศษคนไหนเอาอยู่ เปลี่ยนติวเตอร์มาแล้วทั้งสิ้น 5 คนในหนึ่งปี ในการสอนครั้งแรกของผม ผมเริ่มด้วยการคุยทั้งสองชั่วโมง คุยในเรื่องที่เค้าชอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกมส์ เรื่องหนัง เรื่องเพลง เรื่องฟุตบอล ทุกๆเรื่องที่จะขุด เสาะแสวงหามาคุย คุยอยู่สองชั่วโมง จนไม่ได้สอนอะไรเลย แล้วก็เมื่อถึงเวลา ก็แยกย้ายกลับบ้านไป (ผมคิดเงินด้วยนะ ค่าจ้างที่ผมมานั่งคุยน่ะ) ผมอยากจะถาม ผู้อ่านทุกท่าน ผมสอนดีไหม?? ส่วนใหญ่น่าจะเป็นการมองว่า เสียเวลาเด็ก เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าสอนดีหรือเปล่า รู้แต่เพียงว่า ผมสอนพิเศษเค้ามาสามปี จนเข้ามหาวิทยาลัยได้ ไม่เคยเปลี่ยนติวเตอร์ แล้วก็โดดน้อยมาก ว่างๆก็จะแวะมาหาผม ชวนไปกินข้าว ตกลงผมสอนดีหรือเปล่าล่ะ?? เด็กที่ไม่ตั้งใจเรียน เด็กแสบ เด็กเฮี้ยวทั้งหลาย จะมีสิ่งหนึ่งที่มากกว่าเด็กทั่วไปคือ “กำแพงกั้นระหว่างครู กับลูกศิษย์” กำแพงนี้เป็นกำแพง ที่เราไม่สามารถลดได้ แต่เราสามารถทำให้เค้า ลดลงมาด้วยตัวเค้าเอง การสอนที่จะทำให้เค้าลดกำแพงลงคือ “ทำให้เค้ารู้สึกว่า เราเป็นครูที่น่าเคารพ” ไม่ใช่ “อาจารย์ที่ต้องเคารพ” และเมื่อใดก็ตามที่เค้าลดกำแพงลง เค้าจะพร้อมที่จะเปิดใจ รับฟังคำพูดทางวิชาการที่เราจะใส่ลงไปให้เค้า สำหรับการสอนในครั้งที่สอง ผมนอกเรื่องอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นผมก็เริ่มสอน “วิชาการแบบง่าย” ซึ่งในการสอนพิเศษ เด็กคนนี้ในครั้งต่อๆไป ผมจะคุยนอกเรื่องลดลง วิชาการมากขึ้น จนผ่านไปได้ระยะหนึ่ง ผมเริ่มด้วยวิชาการไปเลย และเพิ่มความยากขึ้นตามลำดับ การสอนก็ประสบความสำเร็จ ไปด้วยดี
อย่างไรก็ตามการสอนพิเศษด้วยวิธีนี้ มักจะใช้ไม่ได้ผลเลยกับเด็กที่ตั้งใจจะมาเรียนอย่างเดียว ดังนั้น บางครั้ง อาจจะใช้ วิชาการนำ นอกเรื่องตาม ก็เป็นไปได้นะครับ ปรับเปลี่ยนไปตามอุปนิสัยของเด็ก แต่สิ่งที่อยากจะเตือนไว้ คือ “อย่าให้เด็กนอกเรื่องทุกครั้ง และเนิ่นนานเกินไป” เพราะจะทำให้เด็กไม่ได้อะไร เสียเวลา และเสียเงิน ในตรงจุดนี้ตัวติวเตอร์ ต้องคอยดึงเด็กให้กลับมาด้วย อย่าปล่อยให้เลยตามเลย
วิชาเกินนำ วิชาการตาม
ก่อนที่จะลงรายละเอียดในหัวข้อนี้ ลองมาดูคำพูดบางอย่าง 2 แบบ ดังต่อไปนี้ก่อนนะครับ
แบบที่ 1 “นิยามของสามเหลี่ยมมุมฉาก คือสามเหลี่ยมที่มีมุมหนึ่งเป็นมุมฉาก และมีด้านสามด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านตรงข้ามมุมฉาก และด้านอีกสองด้าน เป็นด้านประกอบมุมฉาก ”
แบบที่ 2 “คุณสมบัติของสามเหลี่ยมมุมฉาก คือมันจะมีมุมนึงเป็นมุมฉาก มีด้านเอียงๆเป็นด้านที่ยาวที่สุด และมีอีกสองด้าน ที่แปะอยู่ที่มุมฉาก”
แบบที่ 1 “รู้ไหม  cat เป็น noun”
แบบที่ 2 “รู้ไหม  cat เป็น คำนาม”
แบบที่ 1 “มุมแหลมคือมุม ที่กางมากกว่า ศูนย์องศา แต่น้อยกว่า เก้าสิบองศา”
แบบที่ 2 “มุมแหลม มันก็เหมือนปลายดินสอที่มันแหลมๆนั่นแหละ”

จะเห็นได้ว่า ในแบบที่สอง การอธิบายอาจจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เป็นคำอธิบายที่ง่ายแต่ความเข้าใจ นี่คือความหมายของคำว่า “วิชาเกิน นำ วิชาการ” วิชาเกินคือคำพูดที่อาจจะผิดหลักอยู่บ้าง แต่ก็ฟังง่าย จำง่าย วิชาการคือ คำพูดที่ถูกต้องเป๊ะตามหลักของวิชาการ ถึงแม้ว่าจะถูกต้อง แต่ฟังยาก จำยาก และเด็กก็จะไม่อยากจำด้วย สิ่งหนึ่งที่ผมมักจะเห็นการสอน ของอาจารย์ที่สอนประจำโรงเรียน  อาจารย์ที่จบใหม่ๆ หรืออาจารย์ที่มีอีโก้ แรงๆ (ประมาณว่า ข้าเก่งที่สุดในแผ่นดินสยาม) มักจะอธิบายการสอน ด้วยแบบที่ 1 แทบทั้งสิ้น ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเป็นเพราะว่า เรียนมาแบบนี้ จึงสอนเด็กออกไปแบบนี้ อาจารย์บางท่าน เปิดเรื่องมาด้วยบทนิยามที่ซับซ้อน แล้วตอนจบล่ะ?? บอกได้เลยครับว่า ตัวอาจารย์จะไม่รู้สึกตัวเลย ว่าตัวเองสอนไม่รู้เรื่อง เพราะ พูดด้วยนิยามเป๊ะๆ นี่เป็นกับดักที่ น่ากลัวอย่างมากครับ เป็นกับดักของตัวอาจารย์เอง ทำมาดักตัวเอง ตัวผมเองเคยนั่งคุยกับลูกศิษย์ที่เรียน อยู่ที่โรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่ง เด็กบอกว่า อาจารย์สอนเลขที่โรงเรียนเขา สอนอะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้เรื่องเลย เด็กทั้งห้องนั่งงง ได้แต่จดๆๆๆ แล้วก็จด ไปโดยที่ ไม่รู้ว่า อาจารย์บ่นอะไร ผมเอาชีทของเด็กคนนั้นมาดู ผมเลยรู้เลยว่า อาจารย์ท่านนี้ ยังอยู่ในวังวนของ “วิชาการ” อยู่เลย สิ่งที่ผมถามเด็กคนนั้นต่อ ก็คือ อาจารย์คนนั้น อายุเท่าไหร่เหรอ? เด็กบอกว่า อายุประมาณ 50 กว่าๆ ผมก็นึกในใจว่า “คงแก้กันยากแล้วล่ะ” หากมีใครไปบอก อาจารย์แกคง ยืนยันด้วยคำเดิมว่า “ข้าสอนดีเฟ้ย” เฮ้อ..... รู้สึกเหนื่อยใจแทนเด็กนักเรียน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากจะเตือน ติวเตอร์ที่สอนโดยเอาวิชาเกินนำ เพียงอย่างเดียว คงไม่ดีเท่าไหร่ เพราะท้ายสุด เด็กจะละเลย ความถูกต้อง ดังนั้น เมื่อใช้วิชาเกินนำ ทำให้เด็กเข้าใจ อย่าลืมตบท้ายด้วยวิชาการ ด้วยนะครับ สำคัญนะครับ “วิชาเกิน นำ วิชาการ ตาม”
สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากไว้ โดยเฉพาะติวเตอร์ที่สอนคณิตศาสตร์ คือ การพิสูจน์สูตรต่างๆ ไม่จำเป็นเท่าไหร่หรอกครับ เพราะ เด็กไม่ได้เอาไปใช้ การสอนพิสูจน์ แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ท้ายสุดก็เป็นการสอนที่เสียเวลา และ ทำให้เด็กสับสน ง่ายๆลองนึกถึง การทำ “ข้าวผัด” ถ้าอาจารย์มาสอนว่า ข้าวแต่ละเม็ด ประกอบไปด้วยโมเลกุลอะไรบ้าง น้ำตาล น้ำปลา ทำมาจากอะไร มีวิธีการทำแบบไหน มันคงงงน่าดู เพราะเด็กไม่สนใจหรอก รู้แต่ว่า ถ้าเอาข้าวมาผัด รวมกับหมู ใส่น้ำตาล ใส่น้ำปลา เครื่องปรุง และผักต่างๆ ออกมา “ขอให้อร่อยและกินได้” ก็พอ ผมเคยเห็นติวเตอร์ท่านหนึ่ง นั่งพิสูจน์ทฤษฎีบท ทางตรีโกณมิติอยู่ 2 ชั่วโมง เสียเวลา ไม่มีประโยชน์กับเด็กเลย สิ่งที่ผมย้ำก็คือ การพิสูจน์ไม่จำเป็นสำหรับเด็กทั่วๆไปเลย แต่หากเด็กนักเรียนต้องการรู้ที่มา ค่อยเอามาถามนอกรอบดีกว่า
หัวใจ... สำคัญกว่าเส้นผม ภาพรวม... สำคัญกว่ารายละเอียด
ในสมัยก่อน เวลาผมสอนคณิตศาสตร์ ผมมักจะเริ่มบทใหม่ โดยใช้เวลาไม่นานนัก จากนั้น ก็รีบลงรายละเอียด ทันที ยกตัวอย่างเช่น ตอนผมสอนบท ภาคตัดกรวย ผมจะรีบลงรายละเอียด วงกลม พาราโบลา วงรี และ ไฮเปอร์โบล่า ผมใช้เวลานานพอสมควรในการ พูดถึงรายละเอียดปลีกย่อย ของกราฟแบบต่างๆ พอจบบท ผมย้อนถามเด็กๆว่า “กราฟมาจากอะไร......” นี่เป็นคำถามที่ง่ายที่สุด แต่เชื่อไหมว่า เด็กในห้อง ไม่มีใครตอบได้เลย.... ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ลองโยกไปในวิชาภาษาอังกฤษดูบ้าง เช่น ผมสอนโครงสร้างประโยค อย่างละเอียด สอนวลี แบบต่างๆ พอจบบท ผมถามเด็กกลับไปว่า “ประธาน คือ อะไร” แล้วเด็กตอบไม่ได้..... นี่คือหัวข้อที่ผมต้องการสื่อความหมายครับ
ติวเตอร์กว่าร้อยละ 90 มักจะสอนพิเศษ โดยมองข้าม “หัวใจสำคัญของแต่ละบท” ไม่ค่อยสนใจในภาพรวม ไม่สนใจว่า เรียนไปทำไม เพื่ออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร เมื่อสอนรายละเอียด ถึงแม้ว่าเด็กจะเข้าใจ แต่ผมต้องการบอกว่า “ถ้าไม่สอนภาพรวม เด็กจะไม่เข้าใจอยู่ดี” แล้วหากเน้นเจาะแต่รายละเอียดจะ มีข้อเสียอย่างไร?? ผมต้องการบอกว่า ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบัน รวมถึงข้อสอบแข่งขันในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบสมาคม ข้อสอบโอลิมปิค หรือข้อสอบชิงทุน ข้อสอบส่วนใหญ่ “เริ่มการแก้ปัญหาจากภาพรวม แล้วค่อยลงไปในรายละเอียด” หากเด็กไม่เข้าใจในภาพรวม เด็กจะทำข้อสอบได้น้อยกว่า ความสามารถของเขา จากจุดนี้ ในช่วง ห้าปีหลัง นี้มา ในระหว่าง ที่ผมสอนรายละเอียด ผมก็มักจะย้ำภาพรวม ไปในตัวด้วย อยู่เสมอๆ ด้วย การสอน แบบนี้ทำให้ เด็กนักเรียนของผม สอบได้คะแนนค่อนข้างดีทีเดียว สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะย้ำเพิ่มเติม คือ ผมเชื่อว่า “สูตรลัด มีประโยชน์ แต่ สูตรลัดที่มากไป จะกลายเป็นโทษมหันต์” ผมเห็นการสอนพิเศษที่สถาบันต่างๆ เช่นที่ สถาบัน J และ สถาบัน G (ไม่ขอเอ่ยนามนะครับ คิดกันเอง) สอนพิเศษแต่สูตรลัดๆๆๆๆๆๆ บางครั้ง คิดโจทย์ขึ้นมาเอง แล้วก็ใช้สูตรลัดของตัวเอง แล้วก็บอกว่ามันดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ท้ายสุดเด็กได้แต่จำ พอถึงเวลา เอาไปใช้อะไรไม่ได้ สร้างความสับสน แล้วก็จบกัน.... การสอนพิเศษแบบใช้สูตรลัด แม้ว่าจะทำให้ตื่นเต้น และสร้างความประทับใจให้กับเด็กอย่างมาก แต่ “หากคุณต้องการเป็นอาจารย์ที่ดี สูตรลัดระดับเทพของคุณ เก็บไว้บนหิ้งเถอะครับ” หากคิดอยากจะสอน เอาแบบลัดนิดๆ ทำให้วิธีคิดดูฉลาดขึ้น สามารถเอาไปใช้ได้จริง ในสถานะการณ์ส่วนใหญ่ อย่างนี้น่าประทับใจกว่า
สำหรับติวเตอร์บางท่าน อ่านตรงส่วนนี้ พอเข้าใจ แต่ก็อาจจะมีคำถามขึ้นมาในในว่า “แล้วไอ้หัวใจสำคัญที่ว่านี่ จะสอนยังไง” ลองมาดูตัวอย่างแบบนี้นะครับ ผมขอยกตัวอย่างในวิชาคณิตศาสตร์ ในบทเรื่อง “เรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่“ แล้วกัน  (บางคนอ่านไม่เข้าใจ ก็อย่าว่ากันนะครับ)

“สมมุติว่า ผมมีตัวอักษร อยู่สามตัวนะ เป็นตัวอักษร A ตัวอักษร B แล้วก็ตัว C อ้าววว ไหนลองเอาตัวอักษรสามตัวนี้ มาเขียนเรียงสลับกันไปมา ซิ ว่ามันจะได้กี่แบบ ลองนับดูๆ จะได้ ABC แล้วก็ ACB แล้วก็ BAC แล้วก็ BCA แล้วก็ CAB แล้วก็ CBA มีอีกไหมหว่า???? หมดแล้วเน๊อะ ทั้งหมด ก็นับได้ 6 แบบ เน๊อะ”
“อะ คราวนี้ ถ้าผมมีตัวอักษร ห้าตัว เป็นตัวอักษร A,B,C,D และ E ถ้าเอามาเรียงสลับกันไปมา แล้วมันจะได้กี่แบบหว่า???? โห... มันคงเยอะน่าดูเลยอะ งานนี้มานั่งนับแบบเดิมคงไม่ไหว มันก็ต้องมีวิธีการคำนวณใช่มะ?? เราก็เลยต้องมาเรียนบท เรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ยังไงล่ะ”

พอจะเห็นอะไรจากคำพูดข้างต้นของผมไหมครับ??? ผมกำลังจะบอกกับนักเรียนว่า “หัวใจสำคัญของบทนี้ คือวิธีการคำนวณว่า มันมีกี่แบบ ไม่ใช่การมานั่งนับแบบเดิมๆ” หลังจากที่ผมอธิบาย ภาพรวมของเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว เมื่อผมลงรายละเอียด ย่อยๆลงไป ผมเชื่อว่า เด็กก็ยังไม่หลุด เพราะเค้าก็ยังเชื่อว่า ไม่ว่าจะลงรายละเอียดแค่ไหน มันก็ยังคงอยู่ในเนื้อหาแบบเดิมๆ คือ “วิธีการคำนวณว่า มันมีกี่แบบ ไม่ใช่การมานั่งนับแบบเดิมๆ”
ข้อต่อ ทำให้ เคลื่อนที่ได้อย่างนุ่มนวล
หลังจากที่ผมพูดถึง ความสำคัญของหัวใจ กันไปในหัวข้อที่แล้ว คราวนี้ผมจะมาพูดถึง “รายละเอียด” กันบ้าง แน่นอนว่า การสอนหนังสือ ให้เด็กเข้าใจอย่างครบถ้วน ก็ต้องลงรายละเอียดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะลงรายละเอียด แต่ “จำเป็นต้องเชื่อมต่อรายละเอียดของแต่ละอันด้วย” ไม่ใช่ พูดขึ้นมาลอยๆ พอจบ ก็ลงรายละเอียดอันใหม่ แล้วก็จบไปทีละอันๆ อย่างนี้ ก็จบข่าวเลยครับ ในหัวข้อนี้ผม ไม่ต้องการอธิบายยืดเยื้อ เรามาลองดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า ผมขอยกตัวอย่างในวิชาคณิตศาสตร์เช่นเคยนะครับ เป็นบท “จำนวนเชิงซ้อน” ก็แล้วกัน

“ไอ้จำนวนเชิงซ้อน ฟังดูแล้วมันก็ดูยากๆพิกล เอางี้...จำนวนเชิงซ้อน มันก็คือจำนวน นี่แหละ”
“แล้วไอ้ จำนวน ที่เราเรียนกันมาตั้งแต่ ตัวเท่าลูกแมว มันเอาไว้ทำอะไรกันบ้างล่ะ แน่นอนว่า มันก็ต้องเกี่ยวกับ การบวก ลบ คูณ แล้วก็ หารใช่มะ???? ซึ่งถ้ามัน บวก ลบ คูณ หาร กันได้ ไอ้จำนวนเชิงซ้อนที่ว่าเนี่ย มันก็ต้อง บวก ลบ คูณ หารได้เหมือนกันแหละ เพราะมันก็คือ จำนวน เหมือนกัลลลลล”

อ่านดีๆนะครับ เห็นสั้นๆ แต่ความหมายลึกซื้งนะครับ อย่างแรก ผมสอน “หัวใจสำคัญ” นั่นคือ จำนวนเชิงซ้อน ก็ยังคงเป็นจำนวนที่เราเคย รู้มาตั้งแต่เด็ก อย่างที่สอง ผมกำลัง “เชื่อมต่อ” ระหว่างจำนวนธรรมดา กับ จำนวนเชิงซ้อนว่า มันมีคุณสมบัติ ของการ บวก ลบ คูณ และ หาร ด้วย
ในช่วง เจ็ดปีมานี้ ผมไม่เคยเตรียมการสอนเลย หลายคนอาจจะคิดในใจว่า เออ... เอ็งมันเก่ง อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิดครับ ผมอยากจะบอกว่า “เตรียมคำพูด สำคัญกว่า การเตรียมสอน” ทุกครั้งที่ผมจะสอนพิเศษ ผมจะมานั่งเงียบๆคนเดียว คนทั่วไปมองว่า ผมนั่งเฉยๆ แต่ที่จริงแล้ว ผมกำลังเตรียมคำพูดที่กลั่นกรองว่า “จะพูดให้ง่ายทำยังไง จะเชื่อมต่อทำยังไง จะอธิบายภาพรวม ทำยังไง” มากกว่า ถึงแม้ว่า ผมจะสอนพิเศษมาสิบกว่าปีแล้ว ผมก็ไม่เคยละเลยที่จะทำแบบนี้ ดังนั้น อย่าเพิ่งมองผมแต่ภายนอกครับ ผมยังเตรียมทุกวันครับ แต่ไม่ใช่การเตรียมการสอน แต่ “เตรียมคำพูด” ครับ
เด็กบางประเภทที่ไม่ควรสอน
ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เกิดจากประสบการณ์ตรงของผมเอง แน่นอนว่าทุกวันนี้ชีวิตการสอนหนังสือของผมก็ไม่ได้ราบรื่นตลอด หลายคนที่อ่านบทความ นี้อาจจะมองว่าผมเป็นครูตัวยง ที่สอนเด็กได้ทุกประเภท คำตอบคือไม่ใช่ ผมมักจะเลี่ยงกับเด็ก หรือผู้ปกครองบางประเภท เพราะผมก็ไม่อยากที่จะปวดหัว และอายุสั้น ผมคิดว่าผมควรจะเก็บอายุของผมไว้สอนเด็กคนอื่นๆได้อีกมาก เด็กประเภทที่ผมจะไม่สอนจะมีดังต่อไปนี้
มารยาททราม ผมเคยสอนเด็กคนหนึ่งเป็นเด็ก ม.4 ผู้ชาย อยู่โรงเรียนชื่อดังในเครือคาธอลิค เวลาเด็กคนนี้โมโห เมื่อเวลาเค้าพูดกับแม่ของเค้า จะใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า กู..... ในขณะที่เค้าใช้สรรพนามเรียกแม่ของเค้าว่า มึง..... คงไม่ต้องมานั่งบอกเหตุผลนะครับ ว่าทำไมผมไม่สอน และเด็กที่มีบางอาการที่เรียกว่า นั่งด่าอาจารย์ที่โรงเรียนให้ฟัง ใช้สรรพนามว่า อีนี่แม่ง.... ไอ้นั่นแม่ง.... โอ้โห ตัวเองละก็ดีตายเลย โอเคครับ (มึง) กลับบ้านไปเถอะครับ!!
กบในกะลา ชาล้นถ้วย ป่วยไม่รักษา เด็กที่มีอาการเป็นกบในกะลามักจะมีคำพูดติดปากว่า ตรงนี้ผมรู้แล้ว ตรงนั้นผมรู้แล้ว อ๋อ ตรงนี้ผมเก่ง ตรงนี้ข้ามไปก็ได้ครู ผมได้แล้ว เวลาผมเจอคำพูดเหล่านี้บ่อยๆ ผมมักจะหยิบข้อสอบ PAT 1 ออกมาแล้ววางไว้ตรงหน้าเด็ก แล้วพูดออกไปว่า “งั้นเราทำตรงนี้ให้ดูหน่อยสิ” ซึ่งเด็กส่วนใหญ่มักจะทำไม่ได้ สำหรับอาการกบในกะลา กับชาล้นถ้วยมักจะมีอาการคล้ายๆกัน แต่ชาล้นถ้วยคือ ไม่ค่อยยอมรับ ยอมฟังวิธีอื่นๆ ที่สามารถทำความเข้าใจได้ดีกว่า มักจะมีคำพูดติดปากว่า “ไม่เห็นกับที่โรงเรียนสอนเลย” หรือไม่ก็ “ไม่มีสูตรลัดหรือครู” อะไรทำนองนี้ งั้นน้องก็ไปเรียนสูตรลัดกับครูที่โรงเรียนน้องเหอะนะ อย่ามาเรียนกับครูเลย !! สำหรับในสามอาการข้างต้น อาการป่วยไม่รักษา ดูจะน่ากลัวที่สุด เพราะมันจะเป็นอาการของคนที่ขี้เกียจ แต่จะมาให้เราสอนให้เก่ง ให้สอบผ่าน บอกได้เลยว่า “มันเป็นไม่ได้”  คำว่ารักษานั้น หมายถึง การรักษาด้วยตัวเอง นั่นคือ หากคนไหนรู้ตัวว่าตนเองขี้เกียจ แต่ไม่ยอมแก้ด้วยตัวเอง จะไปให้คนอื่นแก้ ไม่มีทางเป็นไปได้ เต็มที่ก็ทำได้แค่ให้อาการทรงๆ ไม่ให้ทรุดลงไปกว่านี้ ฮ่วย!!! ข้าไม่ใช่เทวดานะเฟ้ย การสอนพิเศษที่ดีและเห็นผลชัดเจน คือจะต้องเป็นแบบ พบกันครึ่งทาง หมายความว่า ผู้สอนก็ต้องตั้งใจสอน และผู้เรียนก็ต้องพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง ขยัน และค่อยๆมีความตั้งใจเพิ่มมากขึ้น เด็กแบบนี้ ต่อให้ซื่อบื้อแค่ไหน ผมสอนตายเลยครับ
พ่อ แม่ ที่คิดว่าลูกตัวเองเป็นเทพจุติ ผมเคยสอนเด็กคนหนึ่งเมื่อกลางปี 53 พ่อ แม่ ของเค้ามาหาผมที่สถาบัน บอกว่าช่วยสอนลูกเค้าให้หน่อย เพราะได้คะแนนสอบ PAT ในครั้งที่หนึ่งออกมาน้อยมาก ถ้าจำไม่ผิด น่าจะได้ประมาณ หกสิบกว่าๆ เต็มสามร้อย พ่อ และ แม่ของเด็กคนนั้น บอกว่าให้ใช้เวลาที่เหลือประมาณหนึ่งเดือนกว่า ช่วยติวลูกเค้าให้ทันในการสอบในครั้งที่สองของปี (การสอบ PAT จะสอบปีละสามครั้ง โดยจะเป็นช่วงมีนาคม ปลายกรกฎาคม และต้นตุลาคม) โดยคำถามแรกที่แม่ของเค้าถามผมได้ถามว่า จะต้องติวกี่ชั่วโมงถึงจะจบ? ซึ่งตัวผมก็ตอบไปแบบกลางๆคือประมาณ 100 ชั่วโมง แม่เค้าบอกว่าจะให้ลูกเค้าติวในวันเสาร์ อาทิตย์ ทั้งวัน วันละ 7 ชั่วโมง เวลาที่เหลือก็น่าจะ สอนได้เนื้อหาประมาณครึ่งหนึ่ง คะแนนคงจะขึ้นมาอีก !!? อนิจจางานเข้าเลย เด็กคนนี้เป็นเด็กต่างจังหวัด เรียนเลขที่โรงเรียนได้เกรด 3.5-4 มาโดยตลอด พ่อ และ แม่เข้าใจว่าลูกตัวเองเก่ง แต่สิ่งที่เค้าเข้าใจ อย่างกับ ฟ้ากับเหว เด็กคนนี้ยังทำเนื้อหาของสมการที่อยู่ ม.3 ยังครึ่งๆกลางๆอยู่เลย เวลาบวกเลข ยังเอานิ้วขึ้นมานับ อ่านโจทย์ยังตีความไม่ได้เลยซักข้อ การเรียนวันละ 7 ชั่วโมง ผมอยากจะบอกว่า แค่ชั่วโมงแรก ก็เอ๋อไปไหนไม่เป็นแล้ว ผมใช้เวลานานพอสมควรที่จะค่อยๆปูพื้นฐานให้ใหม่ ดังนั้นเวลาที่เหลือ จึงสอนได้เพียงแค่สองบท เท่านั้น คะแนนในการสอบออกมาได้ประมาณ ห้าสิบกว่า เมื่อผู้ปกครองรู้ดังนั้น จึงโทรมาถามผม พร้อมกับผมทำนองตัดพ้อว่า คงต้องเลิกเรียนกับผม เพราะคะแนนลูกเค้าลดลง ผมรู้สึกโล่งใจมาก ซึ่งผมก็คิดในใจว่า ก็ดีเหมือนกันกับผู้ปกครองบางประเภทที่คิดว่าลูกตนเองเป็นเพชร แล้วก็เอาดินก้อนหนึ่งมาโยนให้แล้วบอกว่า ช่วยจาระไนเพชร (ดิน) เม็ดนี้ให้เสร็จภายในเวลาสองเดือน ฮ่วย!!! ไปเรียนกับปรมาจารย์ตั๊กม้อเถอะ
สำรวจตัวเอง
นี่เป็นหัวข้อสุดท้ายแล้ว ในที่สุดบทความของผมก็มาถึงปลายทางซักที เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุด ของบทความนี้ครับ เป็นหัวข้อที่ผมจะไม่เขียนรายละเอียดเลย ลองกลับไปสำรวจตัวเอง บ้างนะครับ ซึ่งผมอยากจะบอกว่า “เป็นอาจารย์ อย่าเป็นได้แค่เพียง คนสอนหนังสือ” ในชีวิตผม ถึงแม้ว่าจะสอนพิเศษ มานานมากแล้ว แต่ ทุกวัน ผมยังกลับไปนั่งสำรวจตัวเองอยู่เลย ว่า วันนี้เราสอนเป็นยังไงบ้าง เราพูดยากเกินไปหรือเปล่า เราบ้าพลังเกินไปไหม วันนี้เราไปตรงเวลาหรือเปล่า เราตอบคำถามเด็กชัดเจนไหม วันนี้เราหงุดหงิดกับคำถามเด็กไหม การสำรวจตัวเอง ทุกๆวัน มันทำให้ผม เดินเข้าไปใกล้ความเป็นอาจารย์มากขึ้น แล้วคุณล่ะ “เป็นอาจารย์ หรือ เป็นแค่คนสอนหนังสือ” ถามเอง ตอบเอง โชคดีนะครับ

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการเรียนรู้

2.1 แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการเรียนรู้



การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นได้ทุกแห่งในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้อาจเกิดจากการลองผิด



ลองถูกจากการวางเงื่อนไข ซึ่งอาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์เดิมกับสิ่งใหม่ ๆ หรือ



การเรียนรู้แบบก็ตาม ถือว่าเป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น หรืออาจเกิดจากความต้องการเป็นแรงผลักดัน



เพื่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น และเมื่อเกิดความอยากรู้อยากเห็นแล้วก็จะลงมือกระทำการต่าง ๆ



การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งแห่งการปรับตัวให้เข้ากับสังคม สามารถดำรงชีวิตและพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น



การเรียนรู้ไม่เพียงพอแต่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นภายในโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นได้ในสภาพแวดล้อมทั่วไป การเรียนรู้ของนักเรียนจะเริ่มจากสภาพแวดล้อมทางบ้าน และขยายกว้างขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเขาได้ก้าวสู่โรงเรียน ซึ่งเป็นแหล่งให้ความรู้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งความรู้ในวิชาชีพที่จะนำไป ประกอบอาชีพได้



2.1.1 ความหมายของการเรียนรู้



มีนักศึกษาได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “การเรียนรู้” เอาไว้มากมาย ซึ่งพอสรุปได้ว่า



นักศึกษาต่างก็เห็นว่า การเรียนรู้นั้นเป็นกระบวนการหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล



Klein (1987 : 102) ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถาวรอย่างได้สัดส่วน ในความสามารถแสดงพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในฐานะผลของประสบการณ์ที่ได้รับความสำเร็จหรือไม่ได้รับความสำเร็จ



Good (อ้างใน สุรพันธ์ ตันศรีวงษ์. 2538 : 41) กล่าวว่า การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลง



พฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงในทางตอบสนอง



Hilgard and Bower กล่าวว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง



ไปจากเดิมอันเป็นผลจากการฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นตาม



ธรรมชาติ เช่น สัญชาตญาณ หรือ วุฒิภาวะ หรือจากการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของร่างกาย เช่น



ความเมื่อยล้า พิษของยา เป็นต้น



อาจสรุปได้ว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการหนึ่งที่จัดขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล ที่อาจมีผลสืบเนื่องจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน โดยมีเป้าหมาย คือวัตถุประสงค์ ตอบสนองความต้องการ หรือแก้ปัญหาก็ตาม การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ใน 3 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ และความรู้สึกที่เป็นผลจากสิ่งเร้า สิ่งแวดล้อม ครู สื่อ อุปกรณ์การสอน ครอบครัว สังคม กระบวนการจัดการเรียนการสอน แรงจูงใจ และมีการตอบสนองจากนักเรียน ทำให้นักเรียนมีความสนใจใฝ่รู้เข้ามามีส่วนร่วมหลายๆ ครั้ง จนมีพัฒนาการเป็นนิสัยหรือพฤติกรรม ในที่สุดแล้วจึงสามารถกล่าวได้ว่าการเรียนรู้เกิดสัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์





องค์ประกอบของการเรียนรู้



Gagne (อ้างใน กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ . 2524:132) กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญที่ทำ



ให้เกิดการเรียนรู้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ



1. ผู้เรียน (The Learner)



2. สิ่งเร้า (Stimulus ) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ โดยสิ่งเร้าหมายถึงสิ่งแวดล้อม



รอบๆ ตัวผู้เรียนหรือสถานการณ์ต่าง ๆ หมายถึงสถานการณ์หลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน



3. การตอบสนอง (Response)เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับสิ่งเร้า



แต่ในขณะที่ เชียรศรี วิวิธสิริ (2527: 23-24) กล่าวว่า สิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ



1. ตัวผู้เรียนต้องมีความพร้อม มีความต้องการที่จะเรียน มีประสบการณ์มาบ้าง



แล้ว และมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่จะเรียน



2. ตัวครูจะต้องมีบุคลิกภาพดี มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี มีวิธีการเทคนิค



ที่จะถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียนได้หลายวิธี และแต่ละวิธีที่ใช้จะต้องเหมาะสมกับแต่ละเนื้อหาวิชา และต้องรู้จักการใช้สื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่จะสอน เพื่อผู้เรียนจะได้เข้าใจง่าย



3. สิ่งแวดล้อม ต้องมีบรรยากาศในชั้นเรียนดี มีมนุษย์สัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เรียนกับ



ผู้สอน มีสถานที่เรียน ตลอดจนอุปกรณ์ เช่น ม้านั่ง โต๊ะเรียนที่อำนวยความสะดวก และเหมาะสม สถานที่เรียนต้องมีบรรยากาศถ่านเทดี อยู่ห่างไกลจากสิ่งรบกวน และแหล่งเสื่อมโทรมต่าง ๆ ทางไปมาสะดวก







สอดคล้องกับ ปราณี รามสูต (2528: 79-82) กล่าวว่า องค์ประกอบที่ส่งเสริมการเรียนรู้นั้นแบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ คือ



1. องค์ประกอบที่เกี่ยวกับผู้เรียน ได้แก่ วุฒิภาวะ และความพร้อม ในการเรียนรู้ใด ๆ



ถ้าบุคคลถึงวุฒิภาวะและมีความพร้อมจะเรียนรู้ได้ดีกว่ายังไม่ถึงวุฒิภาวะ และไม่มีความพร้อมความสามารถมนการเรียนรู้จากเด็กวัยรุ่นจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่จะคงที่จากวัยผู้ใหญ่หรือวัยชราจะลดลง ประสบการณ์เดิม ความบกพร่องทางร่างกาย ยิ่งมีความบกพร่องมากเท่าใด ความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ก็น้อยลงเท่านั้น แรงจูงใจในการเรียน เช่น รากฐานทางทัศนคติต่อครู ต่อวิชาเรียน ความสนใจและความต้องการที่อยากจะรู้อยากเห็นในส่วนที่เรียน



2. องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบทเรียน เช่น ความยากง่ายของบทเรียนถ้าเป็นบทเรียนที่ง่าย



ผลการเรียนรู้ย่อมดีกว่าการมีความหมายของบทเรียน ถ้าผู้เรียนได้เรียนในสิ่งมีมีความหมายเป็นที่สนใจของเขา ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู่ได้ดีกว่า ความยาวของบทเรียน บทเรียนสั้น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่าบทเรียนที่ยาว ตัวรบกวยจากบทเรียนอื่น หรือจากกิจกรรมอื่น จะขัดขวางการเรียนรู้ในสิ่งนั้น ๆ ไม่ว่าตัวรบกวนนั้นจะเป็นกิจกรรมก่อนหรือหลังการเรียนรู้



3. องค์ประกอบที่เกี่ยวกับวิธีเรียนวิธีสอน เช่น กิจกรรมในการเรียนการสอน ครูควร



เลือกกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ดีที่สุดแก่นักเรียน ตามเนื้อหาวิชาและโอกาส การให้รางวัลและลงโทษ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน การให้คำแนะนำในการเรียน โดยครูแนะนำให้ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ดีขึ้น



4. องค์ประกอบการสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา ได้แก่



บรรยากาศในห้องเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนต่อนักเรียน ระหว่างนักเรียนกับครู สภาพของโต๊ะ เก้าอี้ ทิศทางลม แสงสว่าง ความสะอาด ความเป็นระเบียบ



ในทำนองเดียวกัน วนิช บรรจง และคณะ (2514:87) กล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ดังนี้



1. การจูงใจ การเรียนรู้ต้องมีมูลเหตุจูงใจ ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียน การจูงใจอาจทำได้โดยการให้รางวัลและลงโทษ การให้คะแนน การยอมรับนับถือจากผู้อื่น ความสำเร็จในการงาน การรู้จุดมุ่งหมายของการเรียน



2. ตัว ครู ต้องเป็นคนดีในทุก ๆ ด้าน ควรเป็นผู้ที่รักในวิชาที่ตนสอนและต้องปลูกฝังความรักความสนใจและความเข้าใจ ในตัวเด็ก สนใจผู้เรียน นอกจากนี้ต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ของการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของลักษณะวิชา ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ให้ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์



3. สิ่ง แวดล้อมทั้งทางครอบครัว และทางโรงเรียนโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมทางโรงเรียนมีผลต่อการเรียนรู้เป็นอย่าง มาก เช่น สภาพของห้องเรียนที่น่าอยู่น่าอาศัย อุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบทเรียน



4. อุปกรณ์ การศึกษาหรือเครื่องมือที่ครูนำมาประกอบการสอน ช่วยให้ครูสามารถถ่ายทอดข้อเท็จจริง ทักษะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และจะช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายทางช่วยเร้าความ สนใจแก่ผู้เรียน ตลอดจนทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจเรียน ไม่เบื่อหน่ายและรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน



5. วินัย เป็นเครื่องมือช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความเรียบร้อย และมีความสุขช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นไปอย่างเรียบร้อย ซึ่งจะส่งผลการเรียนรู้ของผู้เรียน



6. การ วัดและการประเมินผลการศึกษา จะช่วยให้เห็นความก้าวหน้าของผู้เรียนได้อย่างแจ่มชัด ทำให้สามารถปรับปรุงผลการเรียนทั้งรายบุคคลและส่วนรวมได้เป็นอย่างดี กล่าวได้ว่านักเรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญองค์แระกอบแรกของการเรียนรู้ การเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในตัวนักเรียน นักเรียนเป็นผู้ที่รู้ด้วยตนเอง พบเอง เห็นเอง และเปลี่ยนประสบการณ์และพฤติกรรมด้วนตนเอง นอกจากนี้ในการเรียนรู้ยังต้องพิจารณาองค์ประกอบด้านความแตกต่างระหว่าง บุคคล เพราะมนุษย์เรามีความแตกต่างกันทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และความถนัด ความแตกต่างทั้ง 5 ด้านนี้ เป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้โดยตรง อันจะเป็นผลให้มนุษย์เรามีการรับรู้ได้แตกต่างกัน





2.1.3 ทฤษฎีการเรียนรู้



ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theories of Learning) เป็น พื้นซานเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้นี้จะ เป็นหลักของการสอนและวิธีการสอน ทฤษฎีการเรียนรู้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ



1.ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)



นัก จิตวิทยาในกลุ่มนี้ ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เห็นชัด สามารถวัดได้ สังเกตได้และทดสอบได้ แนวความคิดของกลุ่มนี้ถือว่าสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนด พฤติกรรมและการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการ ตอบสนอง การแสดงพฤติกรรมจะมีความถี่มากขึ้นถ้าหากได้รับการเสริมแรง แต่นักจิตวิทยาบางคนในกลุ่มนี้ไม่เห็นด้วย และได้เสนอความคิดเห็นว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นถ้าหากได้รับการเสริมแรง แต่นักจิตวิทยาบางคนในกลุ่มนี้ไม่เห็นด้วย และได้เสนอความคิดเห็นว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ถ้ามีความใกล้ชิดระหว่าง สิ่งเร้า และการตอบสนอง



กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2523 : 23) ได้สรุปแนวความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมไว้ว่าพฤติกรรมทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุ สาเหตุนั้นมาจากวัตถุหรืออินทรีย์ ซึ่งเรียกสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์ จะมีพฤติกรรมแสดงออกมาเรียกว่า การตอบสนอง (Response)



ซึ่งก็คือพฤติกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้ามาเร้าอินทรีย์นั่นเอง



กลุ่มพฤติกรรมนิยมสามารถจำแนกทฤษฎีการเรียนรู้หลัก ๆ ได้ 3 ทฤษฎี (พรรณี ช. เจนจิต. 2538 : 275-351)



1. Classical Conditioning หมายถึง การเรียนรู้ใด ๆ ก็ตาม ซึ่งมีลักษณะการเกิดตามลำดับขั้น ดังนี้



1.1 ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง โดยไม่สามารถบังคับได้ มีการสะท้อนกลับ (Reflex) ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการเรียนรู้ (Unlearned หรือ Unconditioned) เป็นไปโดยอัตโนมัติ ผู้เรียนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมได้



1.2 การเรียนรู้เกิดขึ้นเพราะความใกล้ชิด และการฝึกหัดโดยการนำสิ่งเร้าที่มีลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่สามารถทำให้เกิดการตอบสนองได้มาเป็น Conditioned Stimulus (CS) โดย นำมาควบคู่กับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองในช่วงที่ผู้เรียนเกิดการตอบ สนองต่อสิ่งเร้าที่เคยเป็นกลางนั้นเรียกว่า เกิดการเรียนรู้ ชนิดมี Conditioned



2. Operant Conditioning ทฤษฎีนี้ได้เน้นถึงความสำคัญของการเสริมแรงโดย Skinner มีความคิดเห็นว่า การเสริมแรงจะมีส่วนช่วยให้มนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่จะเป็นไปในลักษณะที่ว่าอัตราการแสดงการกระทำต่าง ๆ มักจะมีการกระทำต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เสมอ ๆ พฤติกรรมใดก็ตามที่ได้เป็นการกระทำต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่ว่าเป็นผลชอง อัตราการตอบสนองซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ เราเรียกสิ่งที่ทำให้อัตราการตอบสนองของผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า ตัวเสริมแรง แต่ถ้าพฤติกรรมใดก็ตามไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วหลักการของทฤษฎีนี้ถือว่า พฤติกรรมนั้นไม่ได้รับการเสริมแรง



ทฤษฎีของ Skinner นี้อาจนำมาใช้ในการวัดพฤติกรรมหรือปลูกฝังพฤติกรรม



หรือ สร้างลักษณะนิสัยใหม่ ๆ ได้ วิธีการวัดพฤติกรรมนี้จำเป็นจะต้องใช้สิ่งเสริมแรง เข้าช่วยในระยะที่ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่จะต้องการปลูกฝัง นั่นคือถ้าผู้เรียนกระทำพฤติกรรมที่ต้องการจะให้เกิดพฤติกรรมแล้วจะต้องรีบ ให้รางวัลโดยทันที



3. Social Learning หรือ การเรียนรู้ทางสังคม Bendura มีความเห็นว่า คนเรียนรู้ที่จะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมของตัวแบบ (ซึ่งตัวแบบแจจะได้รับแรงเสริมหรือไม่ได้)กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมจะ ประกอบด้วย



3.1 ความใส่ใจ (Attention) จัดได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้าผู้เรียนไม่มีความใส่ใจในการเรียนรู้ โดยการสังเกตหรือเลียนแบบก็จะไม่เกิดขึ้น



3.2 การจดจำ (Retention) เมื่อผู้เรียนมีความสนใจในการเรียน ผู้เรียนก็จะสามารถจดจำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้



3.3 การลอกเลียนแบบ (Reproduction) เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนแปรสภาพสิ่งที่จำได้ ออกมาเป็นการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมที่เหมือนหรืใกล้เคียงตัวแบบ



3.4 แรงจูงใจ (Motivation) หมายถึง การเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงอาจจะมาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยตรง หรือจากการคาดหวังว่าจะได้รับรางวัลเหมือนตัวแบบ (Vicarious) หรือ จาการที่ตั้งมาตรฐานด้วยตนเองและได้ให้ข้อเสนอแนะว่า พฤติกรรมทางสังคมหลาย ๆ ชนิด เช่น ความก้าวร้าวอาจจะเรียนรู้ได้โยการเลียนแบบจากตัวแบบ นอกจากนั้นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านวิชาการก็สามารถเรียนรู้ได้จาการ สังเกตและเลียนแบบจากตัวแบบ เช่น ความมานะพยายาม ความเชื่อมั่น ในตัวเองและทักษะทางสติปัญญา





2. ทฤษฎีความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีปัญญา (Cognitive Theories)



พรรณี ช. เจนจิต (2538: 404-406) ได้สรุปแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีความเห็นว่าการศึกษาพฤติกรรมควรเน้น ความสำคัญของการะบวนการคิด และการรับรู้ของคน ได้ให้ข้อเสนอ แนะว่าคนทุกคนทีธรรมชาติภายในที่ใฝ่ใจใคร่เรียน เพื่อก่อให้เกิดสภาพที่สมดุล ดังนี้ นั้นการที่เด็กได้มีโอกาสเรียนตามความต้องการ และความสนใจของตน จะเป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็กมากกว่าที่ครูหรือผู้อื่นจะบอกให้ ซึ่งก็คือ “การจัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ”



แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้มาจากหลักการของ Field theory ซึ่ง Lewin เป็น ผู้เสนอไว้ ทฤษฎีนี้เน้นเกี่ยวกับการรับรู้ของคนซึ่งจะได้รับอิทธิพลทั้งจากวิธีการที่ คนจัดสิ่งเร้าเพื่อให้เกิดการรับรู้หรือจากประสบการณ์ หรือจากความสนใจของบุคคล Lewin ได้อธิบายเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมของคนอันเนื่องมาจากการรับรู้ด้วย “Life Space” ซึ่งคนจะแสดงพฤติกรรมตามสิ่งที่ตนรับรู้ภายใน Life Space นั้นๆ ซึ่งถือว่าเป็น สิ่งแวดล้อมตามที่เรารับรู้ ดังนั้น ในการทำความเข้าใจพฤติกรรมของคน จำเป็นจะต้องรู้ทุก ๆ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับคน ๆ นั้นภายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยเฉพาะ แต่มีหลักการบางอย่างของจิตวิทยากลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากกลุ่ม Gestal ซึ่งเน้นเกี่ยวกับเรื่องความเข้าใจอย่างแท้จริง Bruner ได้ชี้ให้เห็นว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้น วิธีที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และจำสิ่งที่เรียนไปแล้วได้คือการใช้ “เค้าโครง” หรือ “โครงสร้าง” เพื่อ ช่วยให้เด็กมองเห็นภาพรวมของสิ่งที่จะเรียนทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เด็กสามารถเข้าใจหลักการของสิ่งที่เรียน ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ในเรื่องอื่น ๆ ได้อีก นอกจานั้นยังเป็นลู่ทางที่เด็กจะสามารถเรียนสิ่งอื่นที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ต่อไป



ในด้านการจัดการเรียนการสอนนักจิตวิทยากลุ่มนี้ ได้เสนอให้ใช้เทคนิคของ Discovery ซึ่งหมายถึง การที่ให้เด็กได้คนพบวิธีแก้ปัญญาด้วยตนเอง ซึ่งจาการที่เด็กทำได้ด้วยตนเองเช่นนั้น จะช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง และทำให้เด็กคุ้นเคยกับทักษะของการแก้ปัญหา นอกจากนั้นยังมีการใช้เทคนิคของการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง การเปิดโอกาสให้เด็กทำผิดพลาดและการคิดผิด เพื่อที่จะได้ทราบความคิดของเด็ก ตลอดจนการใช้เทคนิคการสอบถาม (Inquiry) เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการตั้งคำถาม



ในปัจจุบันการจัดการศึกษาตามแนวความคิดของกลุ่มนี้ได้ให้ความสนใจกับการจัดการเรียนการสอนในลักษณะ Espoxitory ซึ่ง ก็คือ การสอนที่ครูให้ทั้งหลักเกณฑ์และผลลัพธ์แต่เป็นไปในลักษณะที่ผู้เรียนเรียน อย่างรู้ความหมาย โดยที่ถือว่าเป็นการเรียนรู้จะเดขึ้นได้ถ้าในการเรียนรู้สิ่งใหม่นั้นผู้ เรียนเคยมีพื้นฐานเดิมซึ่งสามารถเชื่องโยงเข้ากับการเรียนรู้ใหม่ได้ ไม่ได้เป็นการเรียน สิ่งใหม่ทั้งหมดโดยไม่ได้นำความรู้เดิมมาใช้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นการจัดการเรียนการสอนก็จะเป็นไปในลักษณะของการท่องจำ







3. ทฤษฎีของกลุ่มมนุษยนิยม (Humanisticism)



กลุ่ม มนุษยนิยมจะคำนึงถึงความเป็นคนของคน จะมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีที่ติดตัว มาแต่เกิด มนุษย์เป็นผู้ที่มีอิสระสามารถที่จะนำตนเองและพึ่งตนเองได้ เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ให้สังคม มีอิสรเสรีภาพที่จะเลือกทำสิ่งต่าง ๐ ที่จะไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อน ซึ่งรวมทั้งตนเองด้วย มนุษย์เป็น(ที่มีความรับผิดชอบและเป็นผู้สร้างสรรค์สังคม



Maslow (อ้างใน พรรณี ช. เจนจิต 2538: 438-439) ได้เสนอแนวคิดใหม่ เรียกว่า Third Force Psychology ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานว่า “ถ้า ให้อืสรภาพแก่เด็กเด็กจะเลือกสิ่งทีดีสำหรับตนเอง พ่อแม่และครูได้รับการกระตุ้นให้มีความไว้วางใจในตัวเด็กและควรเปิดโอกาสและ ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตต่อไป ไม่ใช่ใช้วิธีการควบคุมและบงการชีวิตของเด็กทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามที่ตน เองต้องการ



สรุปได้ว่า (อ้าง ภรณ์ชนก บูรณะเรข) แนวความคิดของกลุ่มมนุษย์นิยมที่เกี่ยวกับการศึกษา คือ นักเรียนควรจะได้รับความช่วยเหลือให้มีความเข้าใจในตนเอง มีจุดยืนเป็นของตนเองอย่างชัดเจนว่า ตนเองมีความต้องการสิ่งใดแน่และมีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เพราะในปัจจุบันมีสิ่งที่เด็กจะต้องตัดสินใจเลือกมากมาย คนที่มีจุดยืนที่แน่นอนเท่านั้นจึงจะสามารถเลือกสิ่งที่มีความหมายและก่อให้เกิดความพึงพอใจให้กับตนเองให้ดีที่สุด นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเห็นตรงกันว่า เด็กควรได้รับความช่วย เหลือจากครูในทุกด้านไม่ใช่เฉพาะการได้รับความรู้ หรือ การมีความเฉลียวฉลาดเพียงอย่างเดียว แต่ควรได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และทำความเข้าใจเกี่ยว กับความรู้สึกนึกคิด เจตคติ และจุดมุ่งหมายความต้องการของตนเอง







4. ทฤษฎีผสมผสาน ( Integrated Theory )



ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Gagne ( อ้างใน ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ 2543 : 86-88 ) ได้ผสมผสานทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับทฤษฏีความรู้ความเข้าใจ แล้วสรุปเป็น 8 ขั้นตอนในการเรียนรู้



1. การเรียนรู้สัญญาณ ( Sign Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับต่ำสุด เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ เช่น จกการทดลองการหลั่งน้ำลายของสุนัข เมื่อสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่ง ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขของ Pavlov การเรียนรู้สัญญาณเป็นสิ่งที่เราสามารถสังเกตเห็นจากชีวิตประจำวันของเรา ได้แก่ การกระพริบตา เมื่อมีของมากระทบตาเรา



2. การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ( Stimulus Response Learning ) เป็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายต่อสิ่งเร้า เป็นการเน้นข้อต่อระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยผู้เรียนเป็นผู้กระทำเอง เช่น การทดลองจิกแป้นสีของนกพิราบจากการทดลองของ Skinner



3. การเรียนรู้การเชื่อมโยง ( Chaining ) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองติดต่อกับเป็นการเรียนรู้ในด้านทักษะ เช่น การเขียน การอ่าน การพิมพ์ดีด และการเล่นดนตรี เป็นต้น



4. การเชื่อมโยงทางภาษา ( Verbal Association ) เป็นการเชื่อมโยงความหมายทางภาษาโดยออกมาเป็นคำพูด แล้วจึงใช้ตัวอักษร เช่น การเรียนการใช้ภาษา รวมทั้งการเขียนตัวอักษรด้วย



5. การแยกประเภท ( Multiple Discrimination Learning ) เป็นความสามารถในการแยกสิ่งเร้าและการตอบสนอง ผู้เรียนเห็นความแตกต่างของสิ่งของประเภทเดียวกัน เป็นการจำแนกความแตกต่างด้านทักษะและภาษา สามารถแยกลักษณะของลายเส้นจากหมึกได้



6. การเรียนรู้ความคิดรวบยอด ( Concept Learning ) เป็นความสามารถที่ผู้เรียนมองเห็นลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ เช่น เมื่อนึกถึงวิทยุก็นึกถึงความถี่ของเสียง การใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่การรับฟังข่าวสารบันเทิงได้



7. การเรียนรู้หลักการ ( Principle Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำความคิดรวบยอดสองความคิดหรือมากกว่านั้นมาสัมพันธ์กัน แล้วสรุปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น เช่น ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน



8. การเรียนรู้การแก้ปัญหา ( Problem - Solving ) การเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากที่ผู้เรียนนำหลักการที่มีประสบการณ์มาก่อนมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและปัญหา เช่น ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน เราก็นำไฟฟ้ามาใช้หุงต้มได้



ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการผสมผสานหลักการเรียนรู้ตามทฤษฎีต่าง ๆ เข้ามาร่วมกันเพื่อทำให้นักเรียนสามารถเลือกใช้หรือเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีการผสมผสานหลักทฤษฎีเข้าด้วยกัน การจัดกระบวนการให้เชื่อมโยงถ่ายโอนความรู้หรือแยกแยะให้เห็นความแตกต่าง แล้วเอาความรู้พื้นฐานของตนมาร่วมคิดประกอบก่อนตัดสินใจ ตอบสนอง หรือแก้ปัญหานั้น ๆ

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้



ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

เนื้อหา

  • 1 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)
  • 2 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor)
  • 3 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
  • 4 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
  • 5 ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (Gagne)
  • 6 องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย่ (Gagne)

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)

Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
  • ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
  • ความเข้าใจ (Comprehend)
  • การประยุกต์ (Application)
  • การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
  • การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
  • การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor)

ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
  • พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
  • เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
  • มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)

  • ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
  • ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
  • ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
  • ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
  • ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
  • เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)

  • ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
  • การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
  • บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม

ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (Gagne)

  • การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
  • การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
  • การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
  • ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
  • ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
  • การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
  • การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
  • การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง

องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย่ (Gagne)

  • ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้
  • สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
  • การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ (Gagne)
  • เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
  • ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
  • บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
  • กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
  • เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
  • การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
  • การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
  • การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
  • การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
  • การนำไปใช้กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม

ซันเดย์ติวเตอร์
http://www.sundaytutor.com/








ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์



การศึกษาแนวใหม่ได้จำแนกทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ออกเป็น 3 ทฤษฎี.....
การศึกษาแนวใหม่ได้จำแนกทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ออกเป็น 3 ทฤษฎี คือ
 1. ทฤษฎีแห่งการฝึกฝน (Drill Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้โดยการฝึกทำสิ่งนั้นซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง การสอนเริ่มโดยครูบอกสูตรหรือกฎเกณฑ์ให้ แล้วให้เด็กทำแบบฝึกหัดมากๆ จนกระทั่งเด็กมีความชำนาญ
2. ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้โดยบังเอิญ (Incedental learning Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดี เมื่อเด็กเกิดความพร้อมหรืออยากเรียนรู้ในสิ่งนั้นๆ การสอนจะพยายามให้นักเรียนเรียนคณิตศาสตร์ในบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด และน่าเบื่อหน่าย สอนโดยมีกิจกรรมหลากหลายและยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
3. ทฤษฎีแห่งความหมาย (Meaning Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้และเข้าในในสิ่งที่เรียนได้ดีเมื่อเด็กได้เรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อตัวเอง เรียนให้มีความหมายโครงสร้าง Concept และให้นักเรียนเห็นโครงสร้างของคณิตศาสตร
ในการเรียนการสอนคณิตสาสตร์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ทั้ง 3 ทฤษฎีผสมกัน โดยขึ้นกับดุลยพินิจของครูผู้สอน ว่าในแต่ละเนื้อหาวิชา ลักษณะของเด็ก สภาพแวดล้อมขณะนั้น ตลอดจนตัวผู้สอนเอง ควรจะยึดหลักทฤษฎีไหนบ้าง มากน้อยเพียงไร



ซันเดย์ติวเตอร์
http://www.sundaytutor.com/

ที่มา : www.tukata.igetweb.com